Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1112
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศุภกฤต ธีระพงษ์ | |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T08:32:03Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T08:32:03Z | - |
dc.date.issued | 2015-04-29 | |
dc.identifier | TP EM.007 2558 | |
dc.identifier.citation | 2558 | |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1112 | - |
dc.description.abstract | ธุรกิจร้านค้าออนไลน์ ผ่าน social media ในประเทศไทย เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 11,392 ล้านบาทในปี 2548 เป็น 121,392 ล้านบาทในปี 2555 มีผู้ใช้บริการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์มากกว่า 1 ล้านราย มีผู้ประกอบการมากกว่า 100,000 ราย ที่กำลังดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้ และอีกจำนวนมากที่ต้องการเข้าสู่ธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ดังกล่าวมีความต้องการการจัดการกระบวนการธุรกิจและการสื่อสารกับลูกค้าเป้าหมายให้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยใช้ mobile application เป็นเครื่องมือเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การสร้าง mobile application ของตนเองนั้น จำเป็นจะต้องใช้เงินทุนถึง 1-4 แสนบาท ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสำหรับผู้ประกอบการขนาดย่อม และ mobile application สำเร็จรูปที่มีอยู่แล้วในตลาด ก็ไม่สามารถทำให้ผู้ประกอบการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตามที่ต้องการ จากปัญหาดังกล่าวและการศึกษาปัญหาในรายละเอียดกับผู้ประกอบการจริงในธุรกิจ บริษัท dizP. ได้พัฒนา mobile application ขึ้น เพื่อช่วยผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ขนาดย่อม ในการจัดการและสื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ทุกประเภท ทำให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจ และเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น dizP. เลือกที่จะพัฒนา mobile application ที่จะตอบโจทย์ลูกค้าซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีคู่แข่งทางตรงที่จะแข่งขัน เช่น การทำการจัดการหลังบ้านให้กับ mobile application ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดที่ได้จากการที่ได้สำรวจและเก็บข้อมูลตลาด โดยนำเสนอ features หลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) Announcement เพื่อแจ้งข่าวสารเร่งด่วนให้กับลูกค้า 2) Share ทำให้สามารถโพสต์สินค้าลงทุก social media ของร้านได้ในครั้งเดียว 3) Messages ไว้ติดต่อกับลูกค้าและแสดงข้อความจากลูกค้า 4) Add on features ที่ช่วยกระตุ้นยอดขาย เช่น สั่งซื้อทันทีจาก Message สำหรับโครงสร้างองค์กร ประกอบด้วยผู้ถือหุ้น 4 คน และมีการจัดจ้างพนักงานในระดับผู้จัดการ 3 ตำแหน่ง และระดับปฏิบัติการ 2 ตำแหน่ง เพื่อดูแลและให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน โดยจะมีการจัดสรรเงินลงทุน เพื่อปรับปรุงสำนักงาน และซื้ออุปกรณ์ในการพัฒนาและให้บริการ mobile application นอกจากนี้บริษัทมีการวางแผนกระบวนการดำเนินงานออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) กิจกรรมแรกเข้า เพื่อสอบถามรายละเอียดผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ และพัฒนา mobile application สำหรับร้านค้าออนไลน์ 2) กิจกรรมระหว่างการให้บริการ เพื่อพัฒนาและ บทสรุปผู้บริหาร (ต่อ) ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน mobile application 3) กิจกรรมเมื่อยกเลิกบริการ เพื่อสอบถามข้อติชมจากการใช้บริการและนำไปปรับปรุงพัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้น สำหรับในส่วนของการลงทุนในโครงการ dizP. จะใช้เงินลงทุนประมาณ 563,471 บาท เป็นการลงทุนในส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท dizP. ทั้งหมด โดยคาดว่าจะมียอดขายในปีแรก 2.93 ล้านบาท จากผู้ใช้บริการ 558 ราย มีกำไรสุทธิ 1.6 ล้านบาท และเติบโตขึ้นเป็น 2,790 รายในปีที่ 5 มียอดขายเป็น 14.65 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 10.60 ล้านบาท จากระยะเวลาโครงการ 5 ปี อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 398.38% สามารถคืนทุนได้ภายใน 4.03 เดือน มีมูลค่าโครงการปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 19.2 ล้านบาท | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม | |
dc.subject | การเงิน | |
dc.subject | แผนธุรกิจ | |
dc.subject | Mobile application | |
dc.title | การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของแผนธุรกิจ mobile application template สำหรับธุรกิจออนไลน์ "dizP." | |
dc.type | Thematic Paper | |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.