Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1123
Title: การศึกษาโอกาสและความเป็นไปได้ของธุรกิจบริการปลูกและดูแลสวนยางพาราในระยะปลูกจนถึงพร้อมกรีดแบบครบวงจร "Rubber farm manager"
Authors: หนึ่งฤทัย จันทราธรรมชาติ
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
ธุรกิจ
ยางพารา
Rubber farm manager
การปลูก
Issue Date: 30-Apr-2015
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2558
Abstract: การทำสวนยางพาราเป็นอาชีพเกษตรกรรมที่มีมาอย่างยาวนานในประเทศไทย เนื่องด้วยภูมิประเทศที่มีความเหมาะสมและเอื้อต่อการปลูกยางพาราจนทำให้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นในทุกๆปีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และด้วยความต้องการใช้ยางธรรมชาติที่มีมากขึ้นยิ่งส่งผลให้การปลูกยางพารามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน จนกระทั่งในปัจจุบันยางพาราเป็นสินค้าส่งออกเกษตรกรรมอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของยางพาราที่มีบทบาทสำคัญต่อทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเกษตรกรรมของประเทศ จุดเริ่มต้นของ บริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์ จำกัด (Rubber Farm Manager Co., Ltd.) ไม่ได้เกิดขึ้นแค่จากการเห็นความสำคัญของการปลูกยางพาราที่มีต่อเศรษฐกิจและเกษตรกรรมไทยเท่านั้น หากแต่บริษัทฯได้นำเอาประสบการณ์ในการทำสวนยางมากว่า 30 ปี บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดตรัง ที่เรียกได้ว่าเป็นจุดกำเนิดยางพาราของประเทศไทย มาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรม ความต้องการ รวมถึงปัญหาสำคัญของชาวสวนยาง และได้นำความรู้ ความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งทีมงานที่มากด้วยความสามารถ มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ไข และพัฒนาขึ้นเป็นแนวคิดธุรกิจ บริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์ จำกัด จากการได้สำรวจปัญหาและความต้องการของเจ้าของสวนยางพาราพบว่า เจ้าของสวนยางที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราตั้งแต่ 20-300 ไร่ มีปัญหาสำคัญด้านการขาดแคลนแรงงานและเครื่องจักร เนื่องจากขนาดพื้นที่ไม่สามารถสร้าง economy of scale เพียงพอที่จะทำให้การจ้างแรงงานประจำและการซื้อเครื่องจักรต้นทุนสูงที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 500,000 – 1,000,000 บาท มาใช้งานเองให้เกิดความคุ้มค่าเพียงพอกับเงินที่ลงทุนไป ทำให้เจ้าของสวนยางต้องมีการจ้างผู้รับเหมารายย่อยเพื่อปลูกและดูแลสวนยางในระยะเริ่มปลูกจนถึงพร้อมกรีดด้วยต้นทุนที่สูง ซึ่งต้นทุนดังกล่าวสูงเกินไปจนทำให้เจ้าของสวนยางหลายรายไม่สามารถทำสวนยางต่อไปได้ บางรายเปลี่ยนไปทำพืชชนิดอื่น บางรายปล่อยพื้นที่ให้ทิ้งร้างโดยที่ไม่ได้ทำอะไร หรือแม้แต่การขายสวน เนื่องจากราคายางที่ผันผวนส่งผลให้เจ้าของสวนยางแบกรับความเสี่ยงที่สูงต่อผลผลิตและผลตอบแทนที่ได้รับ บทสรุปผู้บริหาร (ต่อ) และจากการได้ปรึกษาอดีตผู้อำนวยการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.) จังหวัดตรัง คุณพิศาล จันทร์เจิดศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลด้านการปลูกและพัฒนาการทำสวนยางโดยเฉพาะ รวมทั้งรับผิดชอบด้านเงินทุนสนับสนุนแก่ชาวสวนยาง ที่เรียกว่า เงินทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จึงสรุปปัญหาได้ว่า แรงงานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำสวนยาง และต้องมีความรู้ ความชำนาญในการทำสวนยางโดยเฉพาะ การวางแผนดำเนินงานเป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้การปลูกสวนยางพาราประสบความสำเร็จ หากแต่ปัจจุบันปัญหาด้านความสามารถและแรงงานทำให้เจ้าของสวนยางประสบปัญหาการวางแผนงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังใช้ต้นทุนที่สูงกว่า 20,000 บาทต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าเงินอุดหนุนแก่ชาวสวนยางที่สกย. กำหนดไว้ที่ 16,000 บาทต่อไร่ ส่วนต่างที่เจ้าของสวนยางพาราต้องจ่ายเองทำให้เจ้าของสวนต้องแบกรับความเสี่ยงดังที่กล่าวมา นอกจากนี้เงินทุนส่วนมากได้ใช้ไปกับการจ้างแรงงาน ทำให้เจ้าของสวนไม่มีเงินทุนเพียงพอในการเลือกใช้ยางพันธุ์ดีที่สามารถให้ผลผลิตที่มากและสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าได้ จึงเป็นผลให้ในแต่ละปีมีผู้ขออนุมัติเงินทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอยู่ที่ปีละประมาณ 200,000 ไร่ ซึ่งน้อยกว่าผลการสำรวจพื้นที่สวนยางโดย สกย. ที่ควรจะเป็น 400,000 ไร่ แสดงให้เห็นว่ายังมีชาวสวนยางอีกมากที่ยังคงเก็บผลผลิตจากต้นยางเก่าแก่ที่ให้ผลผลิตน้อยกว่ามาตราฐานเนื่องจากขาดแคลนทั้งกำลังและเงินทุน จากปัญหาและความต้องการของชาวสวนยางดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่มาให้เกิดแนวคิดแผนธุรกิจบริการปลูกและดูแลสวนยางพาราในระยะเริ่มปลูกจนถึงพร้อมกรีดแบบคงวงจร “Rubber Farm Manager” โดยที่บริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์ จำกัด เป็นบริษัทให้คำปรึกษา รับปลูกและดูแลสวนยางพาราตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงระยะพร้อมกรีด รวมเป็นระยะเวลา 6 ปี โดยที่ดำเนินงานตั้งแต่กระบวนการปลูก การเลือกใช้กล้ายางพันธุ์ดีให้ผลผลิตต่อปีสูงกว่า 500 กก./ไร่ และดูแลสวนยางให้มีประสิทธิภาพ ผ่านมาตรฐานการดำเนินงานกับ สกย. โดยมุ่งหวังให้เจ้าของสวนยางที่เลือกใช้บริการกับบริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์ จำกัด ประสบความสำเร็จในการทำสวนยางพารา โดยที่ “ไม่ต้องยุ่งยาก ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม และรอรับผลผลิตตอบแทนระยะยาว”
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1123
Other Identifiers: TP EM.016 2558
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.016 2558.pdf12.25 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.