Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1235
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorวรพรรณ เรืองผกา-
dc.contributor.authorนราวัลลภ์ เลิศพิพัฒน์พร-
dc.date.accessioned2021-03-23T08:33:22Z-
dc.date.available2021-03-23T08:33:22Z-
dc.date.issued2015-06-10-
dc.identifierTP MM.003 2558-
dc.identifier.citation2558-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1235-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของเกมโฆษณา (Advergames) ต่อการตอบสนองของผู้บริโภค” มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและรายละเอียดเกี่ยวกับเกมโฆษณา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเกมโฆษณา ต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ในด้านความรู้ (K-Knowledge) ด้านทัศนคติ (A-Attitude) และด้านพฤติกรรม (P-Practice) และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของเกมโฆษณา ต่อการตอบสนองของผู้บริโภค ในด้านความรู้ (K-Knowledge) ด้านทัศนคติ (A-Attitude) และด้านพฤติกรรม (P-Practice) โดยงานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Research) ซึ่งผู้เข้าร่วมการทดลอง มีจำนวนทั้งสิ้น 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มละ 30 คน โดยแต่ละกลุ่มจะต้องเล่นเกมโฆษณาที่แตกต่างกัน ตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ เพื่อตอบแบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 67.8 และมีอายุระหว่าง 25-30 ปี (ร้อยละ 41.1) ส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 62.2) และมีอาชีพเป็น นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา (ร้อยละ 38.9) โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท (ร้อยละ 41.1) สรุปงานวิจัย พบว่า ประสิทธิผลของเกมโฆษณารูปแบบที่ 1 เกมโฆษณาเกี่ยวข้อง (Associative Advergames) รูปแบบที่ 2 เกมโฆษณานำเสนอ (Illustrative Advergames) และรูปแบบที่ 3 เกมโฆษณาสาธิต (Demonstrative Advergames) โดยรวมมีค่าเฉลี่ยการตอบสนองในความรู้ (Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม (Practice) อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ ในด้านพฤติกรรมต่อเกมโฆษณา พบว่า เกมโฆษณารูปแบบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนเกมโฆษณารูปแบบที่ 3 มีค่าเฉลี่ยที่ผู้เล่นยินยอมให้มีการโฆษณาในเกมมากที่สุด โดยประสิทธิผลของเกมโฆษณา ต่อการตอบสนองในด้านความรู้ ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กันในทางบวก สามารถสรุปได้ว่า ความรู้ส่งผลต่อทัศนคติ และทัศนคติส่งผลต่อเนื่องไปยังพฤติกรรมได้ คำสำคัญ : เกมโฆษณา / ประสิทธิผล / การตอบสนองของผู้บริโภค-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการตลาด-
dc.subjectผู้บริโภค-
dc.subjectเกมโฆษณา-
dc.subjectAdvergames-
dc.titleประสิทธิผลของเกมโฆษณา (Advergames) ต่อการตอบสนองของผู้บริโภค = The effectiveness of advergames on the consumer response.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.003 2558.pdf21.38 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.