Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1599
Title: | ผลกระทบของปริมาณอุปทานตราสารหนี้รัฐบาลต่ออัตราผลตอบแทนชนิดไม่มีดอกเบี้ย = GOVERNMENT BOND SUPPLY AND ZERO COUPON YIELD. |
Authors: | ญานินท์ อภิชาติสกุลวงศ์ |
Keywords: | ตราสารหนี้รัฐบาล อัตราดอกเบี้ย นโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) |
Issue Date: | 17-May-2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2559 |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลกระทบของปริมาณอุปทานตราสารหนี้รัฐบาล และระยะเวลาในการกู้ยืมเงินของรัฐบาลที่มีต่อรูปร่างโครงสร้างอัตราผลตอบแทน (Government Bond Supply and Term Structure of Interest Rates) โดยศึกษาจากอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ชนิดไม่มีดอกเบี้ย (Zero Coupon Yield) ซึ่งในงานวิจัยนี้ จะเรียกว่า "อัตราดอกเบี้ย" อายุคงเหลือ 5 ปี, 10 ปี และ 15 ปี ทั้งนี้ข้อมูลปริมาณอุปทานตราสารหนี้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Debt-to-GDP ratio) คำนวณจากมูลค่าหนี้คงเหลือ (Outstanding Debt) ของตราสารหนี้รัฐบาลทุกช่วงอายุคงเหลือ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณอุปทานตราสารหนี้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นปัจจัยที่มีผลต่อรูปร่างโครงสร้างอัตราผลตอบแทน โดยมีทิศทางความสัมพันธ์เชิงบวกที่พบว่าอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ระยะสั้นและปริมาณอุปทานตราสารหนี้ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย โดยผลแตกต่างกันไปตามอายุคงเหลือ กล่าวโดยสรุปคือ เมื่อรัฐบาลมีการก่อหนี้โดยการออกพันธบัตรรัฐบาลจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลต่อตราสารหนี้ระยะยาวมากกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งดูได้จากค่าสัมประสิทธิ์ (Coefficient) ของแบบจำลองที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้จากผลการศึกษายังพบตัวแปรอธิบายอื่นที่มีผลต่ออัตราดอกเบี้ยอายุคงเหลือ 5 ปี, 10 ปี และ 15 ปี ได้แก่ ผลต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยและอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอเมริกา, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำมากกว่า 2 ปีธนาคารพาณิชย์ไทย, อัตราเงินเฟ้อ และ ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1599 |
Other Identifiers: | TP FM.014 2559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FM.014 2559.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.