Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2271
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorสุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว-
dc.contributor.authorพัชรมน เชื้อนาคะ-
dc.date.accessioned2021-03-23T09:47:21Z-
dc.date.available2021-03-23T09:47:21Z-
dc.date.issued2017-11-23-
dc.identifierTP BM.040 2560-
dc.identifier.citation2560-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2271-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีความสัมพันธ์และมีผลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า (2) ศึกษาระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านคุณภาพการบริการ (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จานวน 400 คน ทาการเก็บข้อมูลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ศึกษาโดยประยุกต์ใช้แบบจาลอง SERVQUAL ในการวัดคุณภาพการบริการในแผนกผู้ป่วยนอก ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการสูงที่สุดอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ระดับความพึงพอใจในด้านต่างๆและความพึงพอใจต่อการบริการ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยคุณภาพการบริการด้านที่ได้รับความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจของผู้รับบริการ พบว่า คุณภาพการบริการด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ และด้านการเข้าถึงจิตใจของผู้รับบริการ มีความสัมพันธ์กับความ พึงพอใจของผู้รับบริการอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันระดับสูงในทิศทางเดียวกัน ส่วนคุณภาพการบริการด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการและด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการ มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้รับบริการอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์กันระดับปานกลางในทิศทางเดียวกัน เมื่อนามาวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ พบว่า ปัจจัยคุณภาพการบริการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ และด้านการเข้าถึงจิตใจของผู้รับบริการ มีผลทางบวกต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ เป็นตัวกาหนดหรือมีอิทธิพลใช้ทานายความพึงพอใจของผู้รับบริการ โดยปัจจัยด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการมีอิทธิพลมากที่สุดร้อยละ 33.50 ส่วนปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดความพึงพอใจของผู้รับบริการ-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการจัดการธุรกิจ-
dc.subjectความพึงพอใจ-
dc.subjectคุณภาพการบริการ-
dc.titleคุณภาพการบริการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า = SERVICE QUALITY INFLUENCING PATIENT SATISFACTION AT OUTPATIENT DEPARTMENT OF PHRAMONGKUTKLAO HOSPITAL.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.040 2560.pdf2 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.