Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2553
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ศิริสุข รักถิ่น | - |
dc.contributor.author | ชลิดา วรหิรัญ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:06:48Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:06:48Z | - |
dc.date.issued | 2018-06-25 | - |
dc.identifier | TP MM.009 2561 | - |
dc.identifier.citation | 2561 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2553 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักสะสมดีไซน์เนอร์ทอย โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักสะสมดีไซน์เนอร์ทอย จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ One-Way ANOVA และ Multiple Regression Analysis ซึ่งจากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า นักสะสมดีไซน์เนอร์ทอยที่มีปัจจัยด้านคุณลักษณะประชากรที่แตกต่างกันในด้านอายุ อาชีพ รายได้ และ สายอาชีพหรือสายการเรียน จะมีพฤติกรรมในการสะสมดีไซน์เนอร์ทอยที่แตกต่างกัน และยังพบว่าปัจจัยทางจิตวิทยามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนักสะสมดีไซน์เนอร์ทอย ซึ่งได้แก่ 1)ความต้องการเก็งกำไรและลงทุนทางเศรษฐกิจ, การทำตามต้นแบบ, การหลบเลี่ยงความเครียด, ความรู้สึกภาคภูมิใจ และทัศนคติเชิงบวก มีความสัมพันธ์กับความกระตือรือร้นในการแสวงหาคอลเลกชั่น 2)การทำตามต้นแบบ, ทัศนคติเชิงบวก และความต้องการในขณะที่สถานะทางการเงินไม่พร้อม มีความสัมพันธ์กับความต้องการครอบครอง 3)ความต้องการเก็งกำไรและลงทุนทางเศรษฐกิจ, ความรู้สึกภาคภูมิใจ และทัศนคติเชิงบวก มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดี 4)ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม, ความรู้สึกภาคภูมิใจ, ทัศนคติเชิงบวก และความต้องการใน วัยเด็กที่ไม่ถูกตอบสนอง มีความสัมพันธ์กับการบอกต่อในเชิงบวก 5)ความต้องการเก็งกำไรและลงทุนทางเศรษฐกิจ, ความต้องการความเป็นเอกลักษณ์, การหลบเลี่ยงความเครียด, ทัศนคติเชิงบวก และความต้องการในวัยเด็กที่ไม่ถูกตอบสนอง มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการซื้อ 6)ความต้องการเก็งกำไรและลงทุนทางเศรษฐกิจ, ความต้องการแสดงภาพลักษณ์และรสนิยม, การหลบเลี่ยงความเครียด และทัศนคติเชิงบวก มีความสัมพันธ์กับการเสพติดการซื้อ และนอกจากนี้ยังพบว่าสภาพเศรษฐกิจ, ความหายาก และ ชื่อเสียงของดีไซน์เนอร์ทอยและความนิยมของศิลปินผู้ออกแบบ เป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยากับพฤติกรรมในการสะสมดีไซน์เนอร์ทอยทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบอีกด้วย | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การตลาด | - |
dc.subject | ปัจจัยทางจิตวิทยา | - |
dc.subject | นักสะสม | - |
dc.title | ปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักสะสมดีไซน์เนอร์ทอย =Psychological factors that affect designer Toy collectors' behavior. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MM.009 2561.pdf | 6.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.