Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2721
Title: | บทบาทของเงินปันผลต่ออัตราผลตอบแทนของกลุ่มหลักทรัพย์ขนาดกลางในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย = |
Authors: | นฤมล ลิขิตดำรงชัย |
Keywords: | การเงิน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อัตราผลตอบแทน เงินปันผล |
Issue Date: | 14-Jun-2018 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2560 |
Abstract: | สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของเงินปันผลที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มหลักทรัพย์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2559 โดยจัดกลุ่มหลักทรัพย์เพื่อลงทุนในแต่ละปีตามลักษณะเฉพาะที่สำคัญของบริษัท 3 ปัจจัยได้แก่ คือ 1) ปัจจัยอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Yield) 2) ปัจจัยด้านขนาด (Size Factor) และ 3) ปัจจัยด้านมูลค่า (Value Factor) ที่ถูกวัดโดยอัตราส่วนมูลค่าทางบัญชีต่อมูลค่าตามราคาตลาด (Book to Market Ratio: B/M) เพื่อทำการทดสอบผลกระทบที่เกิดจากการจ่ายเงินปันผลในระดับที่แตกต่างกันที่มีต่ออัตราผลตอบแทน ความเสี่ยง และ Sharpe Ratio ของกลุ่มหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ผลการศึกษาให้ข้อสรุปว่า ในด้านอัตราผลตอบแทน การจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นไม่ส่งผลให้กลุ่มหลักทรัพย์มีผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นหรือแตกต่างจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่ไม่มีการจ่ายเงินปันผลอย่างมีนัยสำคัญ ในด้านความเสี่ยง พบว่า การจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความเสี่ยงจากตลาดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลในระดับสูงมีความเสี่ยงลดลงมากที่สุด และแตกต่างจากกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นในกลุ่มหลักทรัพย์ประเภทผสมผสาน (B: Blend, Middle B/M) ซึ่งการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นไม่ส่งผลให้กลุ่มหลักทรัพย์ดังกล่าวมีความเสี่ยงลดลงหรือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด ในด้านผลการดำเนินงานวัดด้วย Sharpe Ratio พบว่า การจ่ายเงินปันผลมากขึ้นส่งผลให้ค่า Sharpe Ratio สูงขึ้นอย่างชัดเจนในทุกกลุ่มหลักทรัพย์ โดยกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลในระดับสูงมีค่า Sharpe Ratio สูงที่สุด ตามมาด้วยกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลในระดับต่ำ และกลุ่มหลักทรัพย์ที่ไม่มีการจ่ายเงินปันผลมีค่า Sharpe Ratio ต่ำที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงขึ้นทำให้ความเสี่ยงของกลุ่มหลักทรัพย์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2721 |
Other Identifiers: | TP FM.035 2560 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FM.035 2560.pdf | 978.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.