Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2742
Title: การศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในการพัฒนาธุรกิจจากผลิตภัณฑ์ถุงเท้าซิลเวอร์นาโน =THE STUDY CONCERNING ABOUT PRIMARY POSSIBILITY OF BUSINESS DEVELOPMENT IN TERMS OF SILVER NANO SOCKS PROCESSING.
Authors: ฐิติรัตน์ เหมมาลา
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
แผนธุรกิจ
ถุงเท้าดับกลิ่น
ซิลเวอร์นาโน
Issue Date: 11-Dec-2018
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2561
Abstract: บริษัท ดับเบิ้ลพี ซิลเวอร์นาโน จากัด (Double P Silver Nano Co., Ltd) เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นโดยมีแนวคิดในการจัดจำหน่ายถุงเท้าซิลเวอร์นาโนภายใต้แบรนด์ “Foxx.” เป็นการนำอนุภาคเคมีซิลเวอร์นาโนที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญด้านนาโนเทคโนโลยี จาก สวทช. นำมาฉีดเข้าเส้นใยก่อนทอขึ้นรูปเป็นถุงเท้า มีคุณสมบัติในการดับกลิ่น กาจัดแบคทีเรีย 99.99% ต่างจากถุงเท้าที่จำหน่ายโดยทั่วไป และถุงเท้าซิลเวอร์นาโนที่ใช้กระบวนการเคลือบอนุภาคผิวด้านนอก มีกรรมวิธีการผลิตเส้นใยโดยการฉีดอนุภาคเคมีและกระบวนการทอขึ้นรูปถุงเท้าจากบริษัทรับจ้างผลิต (OEM) ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานโรงงาน โดยกลุ่มลูกค้าหลักคือประชากรวัยแรงงาน ซึ่งรวมถึงข้าราชการทหารกองทัพต่างๆ พนักงานบริษัทเอกชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ อาชีพอิสระ และผู้รักการออกกาลังกาย ที่มีปัญหาสุขภาพกลิ่นเท้าเหม็นอับชื้น ต้องการกำจัดกลิ่นอับและแบคทีเรียให้หมดสิ้นไป เพื่อสุขอนามัยที่ดีสาหรับตนเองและบุคคลรอบข้างตลอดทั้งวัน โดยมีช่องทางจัดจาหน่ายหลัก 7 ช่องทางคือ ช่องทางออนไลน์ (Social Media), ห้างสรรพสินค้า, ร้านขายเสื้อผ้ารองเท้า, สถานที่ออกกาลังกาย, ร้านค้าสวัสดิการกองทัพ, ตัวแทนจำหน่าย และการออกบูธ บริษัทมีเงินลงทุนที่เกิดจากการรวมหุ้นและกู้จากธนาคารพาณิชย์รวม 3,000,000 บาท ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในด้านมูลค่าปัจจุบันสุทธิมีมูลค่าเท่ากับ 2,077,169 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน 41.71% ระยะเวลาคืนทุน 2 ปี 6 เดือน มีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด 3 ปี แสดงว่าธุรกิจมีความคุ้มค่าต่อการลงทุน
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2742
Other Identifiers: TP EM.031 2561
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.031 2561.pdf4.49 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.