Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2944
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พลิศา รุ่งเรือง | - |
dc.contributor.author | จุฑามาศ มะไฟหวาน | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:25:38Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:25:38Z | - |
dc.date.issued | 2019-05-21 | - |
dc.identifier | TP BM.013 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2944 | - |
dc.description.abstract | บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารของพนักงานแต่ละช่วงวัยในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งหนึ่งในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาทัศนคติ พฤติกรรม และความต้องการของพนักงานในแต่ละช่วงวัยด้านการสื่อสารในองค์กร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่ม Gen BB (เกิด พ.ศ. 2489-2507) จำนวน 10 คน, กลุ่ม Gen X (เกิด พ.ศ. 2508-2522) จำนวน 10 คน และกลุ่ม Gen Y (เกิด พ.ศ. 2523-2540) จำนวน 10 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) จากผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างได้ให้คำตอบเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเรื่องของทัศนคติ และพฤติกรรม ด้านการสื่อสารของกลุ่มตัวอย่าง กับความหลากหลายของช่วงวัยในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าการสื่อสารในองค์กรมีความสำคัญมาก โดยต้องสื่อสารให้มีความเข้าใจ มีความชัดเจนและเลือกรูปแบบการสื่อสารให้เหมาะสมในการใช้งาน จะส่งผลให้สามารถทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ทำงานได้บรรลุเป้าหมาย ป้องกันความผิดพลาดและความเข้าใจผิดต่อกันได้ สำหรับลักษณะการสื่อสารในแต่ละช่วงวัยในการทำงาน จากการศึกษาพบว่าในแต่ละช่วงวัยในองค์กรมีลักษณะการสื่อสารที่มีความแตกต่างกันตัวอย่าง โดย Gen BB เป็นกลุ่มที่มีความละเอียดและมีการใช้เหตุผลจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาในการวางแผน Gen X เป็นกลุ่มที่มีความชัดเจนในการทำงานและมีการสื่อสารถึงเหตุผลและขั้นตอนในการทำงานได้ดี และมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และ Gen Y เป็นกลุ่มที่มีทำงานเร็ว แต่ขาดความรอบครอบในการใส่ใจรายละเอียดในการสื่อสาร รูปแบบการสื่อสารที่เลือกใช้ในแต่ละช่วงวัยการพูดคุยต่อหน้าเป็นวิธีที่ทุกช่วงวัยเลือกใช้เป็นอันดับแรกเนื่องจากมีการอธิบายและแลกเปลี่ยนข้อซักถามในรายละเอียดได้ ปัญหาหรืออุปสรรคในการสื่อสารกับความหลากหลายของช่วงวัยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้คำศัพท์เฉพาะ ซึ่งในบางครั้งทำให้เกิดการเข้าใจที่ผิดพลาด สำหรับการสนับสนุนขององค์กรในด้านต่างๆ นั้นความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าปัจจุบันองค์กรมีการสนับสนุนที่เพียงพอในการปฏิบัติงาน | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | การศึกษาพฤติกรรม | - |
dc.subject | การเปลี่ยนแปลง | - |
dc.subject | การติดต่อสื่อสาร | - |
dc.title | การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารของพนักงานแต่ละช่วงวัยในองค์กร: กรณีศึกษา บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งหนึ่งในประเทศไทย =ATTITUDES AND BEHAVIORS OF DIFFERENT GENERATIONS TOWARDS ORGANIZATIONAL COMMUNICATION: A CASE STUDY OF INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY COMPANY IN THAILAND. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.013 2562.pdf | 908.89 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.