Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2947
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พลิศา รุ่งเรือง | - |
dc.contributor.author | กสิณ วิต๊ะกุล | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:25:39Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:25:39Z | - |
dc.date.issued | 2019-05-21 | - |
dc.identifier | TP BM.017 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2947 | - |
dc.description.abstract | องค์กรต่างต้องขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรบุคคล ซึ่งองค์กรที่มีพนักงานลาออกอยู่เป็นประจำจะส่งผลเสียอย่างมาก ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่าย กำลังคน เวลา ในการหาและฝึกสอนพนักงานใหม่ ให้สามารถทำงานได้เทียบเท่าพนักงานเดิม ดังนั้นองค์กรจึงควรให้ความสำคัญกับการลดอัตราการลาออกของพนักงาน การศึกษาวิจัยเรื่องเหตุผลของความตั้งใจในลาออกของพนักงานบริษัทอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวบรวมข้อมูล ศึกษาหาเหตุผลของความตั้งใจในการลาออกของพนักงานบริษัทอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ (Interview) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi - Structure Interview) โดยใช้คำถามปลายเปิด ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มประชากร โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) แบบเจาะจง (Purpose Sampling) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานบริษัทอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ในปี 2561 และ พนักงานบริษัทอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทยที่ลาออกแล้ว แบ่งเป็นกลุ่มละ 15 คน รวมทั้งหมด 30 คน เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์ครบถ้วนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาซึงมีระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม-ธันวาคม 2561 จากผลการศึกษาพบว่าเหตุผลที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกของของพนักงานบริษัทอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มีเหตุผลมาจาก 2 ประเด็นหลัก คือ 1.) ลักษณะงาน พนักงานที่ทำงานที่ซ้ำซากจำเจ ไม่ได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ ทำให้พนักงานไม่รู้สึกท้าทาย และ 2.) ค่าจ้างและสวัสดิการ การมีค่าจ้างและสวัสดิการที่น้อยเกินไปเมื่อเทียบกับพนักงานอื่นๆในระดับเดียวกันหรือเมื่อเทียบกับองค์กรอื่นๆ ทำให้พนักงานคิดที่จะลาออก ผลงานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้บริหาร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ทราบถึงเหตุผลของความตั้งใจในการลาออกของพนักงาน สามารถนำไปเป็นข้อมูลใช้ประกอบการพิจารณาเพื่อการวางแผน และออกนโยบายเพื่อรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร และช่วยลดอัตราการลาออกพนักงาน | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | การลาออก | - |
dc.subject | บริษัทอาหาร | - |
dc.title | ความตั้งใจในการลาออกของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทอาหารแห่งหนึ่งในประเทศไทย =EMPLOYEE TURNOVER INTENTION: A CASE STUDY OF FOOD COMPANY IN THAILAND. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.017 2562.pdf | 944 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.