Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3021
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorกิตติชัย ราชมหา-
dc.contributor.authorอาริยา หนูนุ่ม-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:26:09Z-
dc.date.available2021-03-23T10:26:09Z-
dc.date.issued2019-06-26-
dc.identifierTP EM.021 2562-
dc.identifier.citation2562-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3021-
dc.description.abstractจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รัฐบาลไทยได้ออกนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือ “Thailand 4.0” เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยเป็น “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” (Innovation-driven Economy) การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ประกอบการธุรกิจซึ่งเป็นรากฐานสำคัญ ต้องอาศัยระบบนิเวศน์ของธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดดและขยายธุรกิจไปสู่ตลาดภูมิภาคและตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมที่สุดต่อการทำธุรกิจของผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (IDE’s Ecosystem) ของประเทศไทย การศึกษานี้ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นการศึกษาการช่วยเหลือสนับสนุนของภาคการศึกษาต่อผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม ซึ่งภาคการศึกษาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่สำคัญในระบบนิเวศในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาสังคมการเรียนรู้ การแบ่งปันความรู้ และมีผลต่อการสร้างจิตสำนึกของการเป็นผู้ประกอบการได้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ซึ่งจะเป็นเสมือนแหล่งรากฐานที่สำคัญทั้งด้านความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้แก่ผู้ประกอบการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้มุ่งเน้นการศึกษาการช่วยเหลือของภาคการศึกษาต่อธุรกิจนวัตกรรม ตั้งแต่เริ่มต้นทำธุรกิจจนกระทั่งเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ โดยใช้วิธีแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability Sample) ด้วยวิธีเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทยจำนวน 25 ตัวอย่าง หน่วยงานภาครัฐบาลไทยจำนวน 3 ตัวอย่าง และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยจำนวน 8 ตัวอย่างโดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-Depth Interview) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง (Structure Interview) และวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) เป็นเครื่องมือในการวิจัยนี้ โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Directed Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบตารางเปรียบเทียบประกอบคำบรรยาย เพื่อนำผลวิจัยมาอ้างอิงแผนสำหรับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมต่อไปสำหรับภาคการศึกษา โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคการศึกษาในการสนับสนุนพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม-
dc.subjectผู้ประกอบการ-
dc.subjectการศึกษา-
dc.subjectนวัตกรรม-
dc.subjectธุรกิจนวัตกรรม-
dc.titleการศึกษาคุณลักษณะ ปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคในมิติกลยุทธ์การสนับสนุนของภาคการศึกษาที่มีผลกระทบต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจนวัตกรรมของประเทศไทย =A Study of the Success Factors and Obstacles of Education Sector Support that Affect the Sustainable Growth of Thailand's Innovation Driven Enterprise.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.021 2562.pdf2.45 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open
TP EM.021 2562.pdf2.45 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.