Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3092
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ปรารถนา ปุณณกิติเกษม | - |
dc.contributor.author | จิตราพร ก้อนมณี | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:26:46Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:26:46Z | - |
dc.date.issued | 2019-08-27 | - |
dc.identifier | TP BM.021 2562 | - |
dc.identifier.citation | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3092 | - |
dc.description.abstract | ในงานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมยาชีววัตถุคล้ายคลึงทราสทูซูแมบในประเทศไทย ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์โอกาส อุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวโน้ม และการพัฒนาอุตสาหกรรมยาชีววัตถุ 3) เพื่อทราบศักยภาพทางการตลาดของอุตสาหกรรมยาชีววัตถุในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาชีววัตถุในประเทศไทย ประกอบด้วย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง เภสัชกร และคนไข้โรคมะเร็ง รวมจำนวน 15 คน สามารถสรุปผลการศึกษาดังนี้ โอกาสของอุตสาหกรรม ได้แก่ นโยบายของภาครัฐมีการสนับสนุน กฎหมายเอื้อให้สถานพยาบาลของรัฐซื้อยาที่ผลิตภายในประเทศ บุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มคนไข้โรคมะเร็งมีทัศนคติที่ดีและความตระหนักรู้ในเชิงบวก แต่ยังกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และคุณภาพของยาที่จะผลิตได้ในประเทศ ส่วนอุปสรรคที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือ โรงงาน และห้องวิจัยในประเทศไทยยังขาดความพร้อม ศักยภาพในแต่ละโรงงานยังสามารถผลิตยาได้ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศส่งผลให้ต้นทุนสูงกว่า บุคลากรที่เกี่ยวข้องยังขาดแคลน ด้านงบประมาณยังขาดความต่อเนื่อง และขาดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน ด้านแนวโน้มอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าประเทศไทยจะสามารถผลิตยาชีววัตถุสำหรับรักษาโรคมะเร็งได้เองหากมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณ และความร่วมมือ ส่วนด้านศักยภาพทางการตลาดยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะปัจจุบันประเทศไทยยังมีผู้เล่นอยู่ไม่กี่ราย และแนวโน้มการรักษาโรคในอนาคตน่าจะมีการใช้ยากลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | ยาชีววัตถุ | - |
dc.subject | ทราสทูซูแมบ | - |
dc.subject | โรคมะเร็ง | - |
dc.title | การศึกษาวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของอุตสาหกรรมยาชีววัตถุคล้ายคลึงในประเทศไทย: กรณีศึกษายารักษามะเร็งทราสทูซูแมบ =A Study of Opportunities and Threats of Biosimilar Industry in Thailand: A Case Study of Trastuzumab Antineoplastic Agents. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.021 2562.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.