Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3135
Title: การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุน ตามแบบจำลอง Black-Litterman โดยใช้อัตราคาดหวังผลตอบแทนด้วยวิธีคำนวน Implie cost of capital (ICC) =THE ANALYSIS OF RETURN AND RISK OF BLACK-LITTERMAN MODEL ON METHODS OF PRICE EARNING (PE RATIO)
Authors: สิทธิณัฐ วงศ์สืบ
Keywords: การเงิน
กำไร
แบบจำลอง Black-Litterman
Issue Date: 9-Oct-2019
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2562
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของ Implied Cost of Capital (ICC) โดยใช้แบบจำลอง Abnormal Earnings Growth Model (AEGM) ด้วยวิธี PE, PEG และ MPEG ratio ในการคำนวณหาอัตราคาดหวังผลตอบแทนของนักลงทุนในอนาคต (rate of return) โดยใช้ข้อมูลการคาดการณ์กำไรต่อหุ้นและเงินปันผลต่อหุ้นจากฐานข้อมูล I/B/E/S ในการคำนวณหา ICC เพื่อใช้เป็นมุมมองของ นักลงทุน แล้วนำมาจัดกลุ่มหลักทรัพย์ตามแบบจำลอง Black-Litterman โดยปรับสัดส่วนการลงทุนทุกสิ้นเดือนมีนาคมของทุกปี เปรียบเทียบผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ได้ของแต่ละวิธี ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่ใช้ในการศึกษาเป็นหลักทรัพย์ในกลุ่มดัชนี SET 50 ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2551-2560 ผลการศึกษา พบว่า การจัดกลุ่มหลักทรัพย์ตามแบบจำลอง Black-Litterman ที่ใช้มุมมองของนักลงทุนด้วยวิธี MPEG ratio จะมีค่า Sharpe ratio หรือผลตอบแทนส่วนเกิน (Excess Return) ต่อหนึ่งหน่วยความเสี่ยงทั้งหมดมากที่สุดและสามารถคาดการณ์ผลตอบแทนได้แม่นยำมากที่สุดจากค่า RMSE (Root Mean Square Error) รองลงมาคือวิธี PEG และ PE ตามลำดับ อีกทั้งวิธี MPEG และ PEG มีอัตราผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ยที่มากกว่าการจัดกลุ่มหลักทรัพย์ตามแบบจำลอง Black-Litterman ที่ใช้มุมมองตามแบบจำลอง CAPM และ Fama-French Three Factor ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ทำการศึกษา โดยคณะผู้วิจัยเปรียบเทียบผลการศึกษาของแบบจำลอง CAPM และ Fama-French Three Factor จากงานวิจัยของ เกียรติศักดิ์ ผิวขาว และคณะ (2561) ในการคำนวณอัตราคาดหวังผลตอบแทนด้วย ICC ตามแบบจำลอง AGEM สามารถทำนายทิศทางของอัตราผลตอบแทนได้ถูกต้องวัดผลด้วย Confusion Matrix พบว่า ICC สามารถทำนายทิศทางได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยคิดเป็น 63.19% เมื่อนำ ICC มาใช้เป็นมุมมองนักลงทุน (Investor’s view) สำหรับการจัดกลุ่มหลักทรัพย์ตามแบบจำลอง Black-Litterman สามารถให้ผลตอบแทนส่วนเกินเฉลี่ยในช่วงเวลา 10 ปีที่ทำการศึกษา มากกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ตลาด (SET TRI, SET100 TRI และ SET50 TRI) ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าผลตอบแทนของตลาด การหาอัตราคาดหวังผลตอบแทนด้วย ICC ที่ใช้เป็นมุมมองในการจัดกลุ่มหลักทรัพย์ ก็สามารถตอบโจทย์นักลงทุนได้
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3135
Other Identifiers: TP FM.010 2562
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.010 2562.pdf1.71 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.