Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/327
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.date.accessioned | 2021-03-19T07:01:05Z | - |
dc.date.available | 2021-03-19T07:01:05Z | - |
dc.date.issued | 2021-02-04 | |
dc.identifier | TP FM.025 2563 | |
dc.identifier.citation | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/327 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายการคงค้างและองค์ประกอบของรายการคงค้างในงบการเงิน ต่อความสม่ำเสมอของกำไรและอัตราผลตอบแทนของหุ้น ซึ่งความสม่ำเสมอของกำไร (Earning Persistence) หมายถึง ตัวเลขกำไรในงบการเงินปี ปัจจุบันที่คำนวณขึ้นจากหลักการบัญชีที่ยึดหลักความระมัดระวัง, ความเป็นกลางและความเชื่อถือได้ซึ่งสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่แท้จริงของกิจการทำให้สามารถใช้พยากรณ์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการในอนาคตได้อย่างถูกต้อง อัตราผลตอบแทนของหุ้นใช้อัตราผลตอบแทนเกินปกติปรับด้วยขนาด (Size-adjusted abnormal returns) เป็นตัวทดสอบ โดยในการศึกษาวิจัยใช้ข้อมูลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ตั้งปี พ.ศ. 2547 – 2562 ไม่รวมบริษัทในกลุ่มสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคาร บริษัทประกันภัย และ บริษัทหลักทรัพย์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 221 บริษัท จำนวนทั้งหมด 16 ปี และวิเคราะห์ด้วย Panel regression เพื่อขจัดปัญหาตัวแปรที่มีค่าคงที่เสมอแม้ว่าเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปและไม่สามารถวัดค่าได้ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กำไรทางบัญชีในปีปัจจุบันสามารถพยากรณ์กำไรในปีถัดไปได้ เมื่อแยกองค์ประกอบของกำไรทางบัญชีเป็นกำไรส่วนของกระแสเงินสดและกำไรส่วนของรายการคงค้างพบว่ากำไรส่วนของกระแสเงินสดสามารถพยากรณ์กำไรในปีถัดไปได้ดีกว่ากำไรจากส่วนของรายการคงค้าง จากนั้นทดสอบกำไรส่วนของรายการคงค้างได้ผลว่า ไม่สามารถใช้พยากรณ์กำไรในปี ถัดไปได้ จึงได้แยกองค์ประกอบของรายการคงค้าง ออกพบว่า มีเพียงองค์ประกอบย่อยของรายการคงค้างจากส่วนเปลี่ยนแปลงของหนี้สินไม่หมุนเวียนที่ไม่รวมหนี้สินระยะยาวที่มีภาระดอกเบี้ยที่ส่งผลให้กำไรในปี ถัดไปลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ได้ทดสอบรายการคงค้างกับอัตราผลตอบแทนของหุ้นเกินปกติปรับด้วยขนาดปีถัดไป พบว่ากำไรในปีปัจจุบันไม่สามารถพยากรณ์อัตราผลตอบแทนของหุ้นเกินปกติ ปรับด้วยขนาดปีถัดไปได้ เนื่องจากผลการทดสอบไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ มีเพียงองค์ประกอบย่อยของรายการคงค้างจากส่วนเปลี่ยนแปลงหนี้สินไม่หมุนเวียนที่ไม่รวมหนี้สินระยะยาวที่มีภาระดอกเบี้ยที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของหุ้นเกินปกติปรับด้วยขนาดในปี ถัดไปลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่านักลงทุนโดยทั่วไปที่ใช้กำไรทางบัญชีเพียงอย่างเดียวมาพยากรณ์อัตราผลตอบแทนของหุ้นนั้นไม่ ถูกต้อง | |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | |
dc.subject | NULL | |
dc.title | ความสัมพันธ์ของรายการคงค้างและองค์ประกอบของรายการคงค้างต่อความสม่ำเสมอของกำไรรอบบัญชีถัดไปและอัตราผลตอบแทนของหุ้นปีถัดไป =ACCRUALS, EARNING PERSISTENCE WITHIN THE NEXT YEAR'S AND STOCK RETURN WITHIN THE NEXT YEAR'S. | |
dc.type | Thematic Paper | |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.