Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3421
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวานิช-
dc.contributor.authorนวพรรณ สามะอาพัทธ์-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:47:25Z-
dc.date.available2021-03-23T10:47:25Z-
dc.date.issued2020-05-08-
dc.identifierTP FM.026 2562-
dc.identifier.citation2562-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3421-
dc.description.abstractงานศึกษานี้เป็นการทดสอบพฤติกรรมการจัดหาแหล่งเงินทุนตามทฤษฎีการจัดลำดับขั้นของเงินทุนของบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 153 บริษัท ในช่วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2545 ถึง 2559 โดยไม่รวมกลุ่มธุรกิจการเงิน ผู้วิจัยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติโดยการสร้างแบบจำลอง Panel Regression ในการทดสอบทฤษฎีการจัดลำดับขั้นของเงินทุนจากข้อมูลงบการเงินรวมจากฐานข้อมูล Thomson Reuter ผลการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของการก่อหนี้กับเงินทุนที่ต้องจัดหาจากแหล่งเงินทุนภายนอก เมื่อกิจการมีเงินทุนภายในไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานให้ผลที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกัน คือกิจการไม่มีการก่อหนี้ระยะยาวเพิ่ม แต่ใช้แหล่งเงินทุนภายใน เช่น กำไรสะสม เงินทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ หรือการก่อหนี้ระยะสั้นเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานการทดสอบที่กล่าวว่าภายหลังจากที่กิจการมีการออก IPO แล้วกิจการจะไม่มีการออกหุ้นอีก แต่จะใช้วิธีการก่อหนี้ระยะยาวในการจัดหาเงินทุนเท่านั้น (Shyam-Sunder & Myers, 1999) จากนั้นจึงทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยการแยกองค์ประกอบของการขาดดุลทางการเงิน พบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อการก่อหนี้และเป็นไปตามสมมติฐานมีเพียงเงินลงทุนสุทธิ (Capital Expenditures) เท่านั้น ในส่วนสุดท้ายจะเป็นการทดสอบความสามารถในการก่อหนี้ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นขนาดพบว่าอัตราส่วนสินทรัพย์ที่มีตัวตนความสัมพันธ์กับการก่อหนี้ระยะยาวในทิศทางเดียวกันในกิจการทุกขนาด อธิบายได้ว่า เมื่อกิจการมีสินทรัพย์ที่มีตัวตนเพิ่มมากขึ้น กิจการสามารถนำหลักทรัพย์นั้นไปใช้ในการค้ำประกันการกู้ยืม เพื่อให้ต้นทุนการกู้ยืมต่ำลง และความสามารถในการทำกำไรมีความสัมพันธ์กับการก่อหนี้ระยะยาวในทิศทางตรงกันข้ามในกิจการทุกขนาด อธิบายได้ว่า กิจการที่มีความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้กำไรของกิจการเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน สะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ กิจการจึงสามารถใช้เงินทุนภายในในการดำเนินงานแทนการจัดหาเงินทุนจากแหล่งภายนอกโดยการก่อหนี้-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการเงิน-
dc.subjectโครงสร้างเงินทุน-
dc.subjectแหล่งเงินทุน-
dc.titleการทดสอบทฤษฎีการจัดหาเงินทุนตามลำดับขั้นโครงสร้างเงินทุน (Pecking order theory) กรณีศึกษาบริษัทจำกัดมหาชนของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 - 2559 โดยการแยกองค์ประกอบของการขาดดุลทางการเงิน =EXAMINATION ON THE PECKING ORDER THEORY TO THE CAPITAL STRUCTURE: A CASE STUDY PROVIDED AND CLASSIFIED BY THAILAND’S BUSINESS SIZE IN YEAR 2002 - 2016.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.026 2562 (1).pdf560.99 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.