Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3439
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorรุ้งลาวัลย์ ตันติวัฒนกูล-
eperson.contributor.advisorพัลลภา ปีติสันต์-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:47:35Z-
dc.date.available2021-03-23T10:47:35Z-
dc.date.issued2020-01-21-
dc.identifierTP MM.040 2562-
dc.identifier.citation2562-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3439-
dc.description.abstractความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในระบบสุขภาพ โดยเภสัชกรเป็นหนึ่งในทีมบุคลากรทางสุขภาพมีบทบาทในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย โดยมีบทบาทร่วมในการวินิจฉัยโรค จ่ายยาและให้คำปรึกษา รวมถึงการค้นหา ป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลโรค การใช้ยา และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมร่วมกับผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุขอื่นๆ โดยผ่านการมารับบริการที่โรงพยาบาลและร้านขายยา จึงเป็นกำลังสำคัญของระบบสุขภาพในการจัดการ แก้ไข และป้องกันปัญหาทางสุขภาพของประชาชน (ศรัณย์ กอสนาน, 2555; คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2559; แสงสุข พิทยานุกุลและศิริ ชะระอ่ำ, 2560) ความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วยที่ร้านขายยาจึงมีความสำคัญ และควรศึกษาทำความเข้าใจ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่ดีมีผลต่อความร่วมมือของผู้ป่วย ก่อให้เกิดผลการรักษาที่ดีและเป็นไปอย่างราบรื่น เมื่อทำการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วยในประเทศไทย กลับพบว่ามีการศึกษาเรื่องนี้น้อยมาก โดยส่วนมากจะพบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในต่างประเทศ (Emanuel and Emannuel, 1992; Ridd et al, 2009; ดวงกมล ศรีประเสริฐ, 2561) จากผลการศึกษาวิจัยนี้ได้พบรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วยทั้งสิ้น 4 รูปแบบ คือ รูปแบบความสัมพันธ์แบบที่ปรึกษา-ผู้ขอคำปรึกษา (Consumerism) พบได้มากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบความสัมพันธ์แบบเพื่อน-เพื่อนหรือความสัมพันธ์แบบญาติ (Mutual participation) รูปแบบความสัมพันธ์แบบการซื้อ-ขายทั่วไป (Default) และรูปแบบความสัมพันธ์แบบครู-นักเรียน (Guidance-cooperation) พบได้น้อยที่สุดตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์พบว่ามีปัจจัยด้านความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ ความเคารพนับถือ ระยะเวลา ความไว้วางใจ ความจงรักภักดี และปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ราคาและความสะดวก สำหรับพัฒนาการของความสัมพันธ์ พบว่ามีทั้งสิ้น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ความสัมพันธ์แบบซื้อ-ขายทั่วไป ระยะที่ 2 ความสัมพันธ์แบบที่ปรึกษาหรือครู-นักเรียน ระยะที่ 3 ความสัมพันธ์แบบเพื่อน-เพื่อน หรือความสัมพันธ์แบบญาติ ระยะที่ 4 สิ้นสุดสัมพันธภาพ-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectความสัมพันธ์-
dc.subjectเภสัชกร-
dc.subjectผู้ป่วย-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างเภสัชกรกับผู้ป่วยที่มาใช้บริการในร้านนขายยา =THE PHARMACIST-PATIENT RELATIONSHIP AT DRUG STORE.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.040 2562.pdf1.57 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.