Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3475
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorณัฐวุฒิ พิมพา-
dc.contributor.authorกัญญ์วรา แสนเยีย-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:47:57Z-
dc.date.available2021-03-23T10:47:57Z-
dc.date.issued2020-07-03-
dc.identifierTP FB.003 2563-
dc.identifier.citation2563-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3475-
dc.description.abstractเนื่องจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของคนไทยเพิ่มมากขึ้น มีการนำสมุนไพรมาบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพเพื่อทดแทนการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี รวมไปถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรมสมุนไพร ส่งผลให้อุตสาหกรรมสมุนไพรขยายตัว ซึ่งสมุนไพรที่ปลูกโดยเกษตรกรไทยมีศักยภาพในด้านการเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ และความหลากหลายของชนิดสมุนไพร อีกทั้งพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนไทยที่นิยมซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยเติบโต เกิดเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญ อย่างไรก็ตามแม้ความต้องการสมุนไพร และการซื้อของออนไลน์จะเพิ่มขึ้น แต่ข้อจำกัดในเชิงปฏิบัติและองค์ความรู้ในธุรกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรยังเข้าถึงได้ยาก ในส่วนของผู้บริโภคยังขาดการเข้าถึงสมุนไพรที่มีคุณภาพ ขาดความรู้ ความเข้าใจในการใช้งานสมุนไพรอย่างถูกต้องทำให้การใช้สมุนไพรจึงยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและโอกาสการเติบโตของธุรกิจ จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาแพลตฟอร์มการขายสมุนไพรสำหรับผู้บริโภค เพื่อนำไปสู่การสร้างรูปแบบทางธุรกิจที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรม สมุนไพร และเพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มโอกาสทางการตลาด สนับสนุนข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่สำคัญให้แก่เกษตรกรและเป็นช่องทางในการให้ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ด้านสมุนไพรในการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ สอดคล้องกับพฤติกรรมการของผู้บริโภค ความน่าสนใจของแผนธุรกิจ คือ ธุรกิจการเกษตร เป็นธุรกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มนี้ใช้เงินทุนเพียง 50,000 บาท และภายในปีที่ 5 สามารถสร้างมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็น “บวก” เท่ากับ 5,067,079 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 247% ระยะเวลาคืนทุน (PB) เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าในการลงทุนในแผนธุรกิจนี้ ซึ่งนอกจากจะมีมูลค่าทางธุรกิจแล้ว ยังเป็นการสร้างรูปแบบทางธุรกิจที่ผู้บริโภค และเกษตรกร ได้รับประโยชน์สูงสุด อย่างมั่นคงและยั่งยืน-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectสมุนไพร-
dc.subjectการจัดการธุรกิจอาหาร-
dc.subjectเกษตรกร-
dc.subjectแพลตฟอร์ม-
dc.subjectธุรกิจพาณิชย์-
dc.titleการพัฒนาแพลตฟอร์มการขายสมุนไพรสำหรับผู้บริโภค =PLATFORM DEVELOPMENT FOR HERBAL PRODUCTS.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FB.003 2563.pdf1.23 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.