Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3492
Title: การศึกษาการแพร่กระจายของวิกฤตการณ์ และความเชื่อมโยงของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN): กรณีศึกษาประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยใช้แบบจำลอง VECTOR AUTOREGRESSIVE MODELS =CONTAGION OF ASEAN-3 COUNTRIES’ MARKET RETURN USING VECTOR AUTOREGRESSIVE MODELS
Authors: ธรรมขจร นันทพงษ์
Keywords: การตลาด
ASEAN
Vector Autoregressive
Issue Date: 21-Sep-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2563
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาว่าอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของอาเซียน (ASEAN) มีความเชื่อมโยงและแพร่กระจายของวิกฤตการณ์ (Contagion) ระหว่างกันหรือไม่ โดยมีกรณีศึกษาคือ ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยใช้แบบจำลอง Vector Autoregressive Models – Granger Causality Test และ Cumulative Orthogonal Impulse Response Function นอกจากนี้ยังได้ทดสอบโดย Error Variance Decomposition เพื่อหา Shcok ของ Forecast Error ในแต่ละประเทศ โดยหากขจัด Shock ออกจากสมการและการแจกแจงของ Forecast Error กลับเป็นการแจกแจงแบบปกติหมายความว่าประเทศนั้น ๆ มีการแพร่กระจายของวิกฤตการณ์ ทำการศึกษาในช่วงปี 2003 ถึง 2018 ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาที่เกิดวิกฤต Subprime Crisis ในสหรัฐอเมริกา และส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย ผลการทดสอบ Vector Autoregressive Models – Granger Causality Test และ Cumulative Orthogonal Impulse Response Function พบว่าช่วงก่อน Subprime Crisis (2003-2007) อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์มาเลเซียสามารถอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ประเทศอื่น ๆ ได้ทั้งหมด ขณะที่อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศที่เหลือไม่สามารถอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์มาเลเซียได้ ช่วงระหว่าง Subprime Crisis (2008-2012) อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศที่ศึกษาอธิบายซึ่งกันและกันมากกว่าช่วงก่อน Subprime Crisis ขณะที่ช่วงหลัง Subprime Crisis (2013-2018) อัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศที่ศึกษาอธิบายซึ่งกันและกันคล้ายกับช่วงก่อน Subprime Crisis การทดสอบ Error Variance Decomposition พบว่าอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทุกประเทศเกิด Shock ขึ้น แต่เมื่อขจัด Shock ออกจากสมการแล้วพบว่าการแจกแจงของอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ทุกประเทศยังคงไม่กลับเป็นการแจกแจงแบบปกติ โดยผู้วิจัยเชื่อว่าด้วยลักษณะข้อมูลที่เป็นข้อมูลรายวันอาจมีตัวรบกวน (Noise) ที่มากเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถจำแนก Contagion ระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3492
Other Identifiers: TP MM.004 2563
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.004 2563.pdf3.13 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.