Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3578
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวานิช-
dc.contributor.authorกิตติพงษ์ เอื้ออนันต์ตระกูล-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:49:19Z-
dc.date.available2021-03-23T10:49:19Z-
dc.date.issued2020-11-10-
dc.identifierTP FM.019 2563-
dc.identifier.citation2563-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3578-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริหารในการบริหารจัดการกำไร โดยการศึกษาเพิ่มเติมต่อยอดจากทฤษฎีของ Jones (1991) ที่วัดการจัดการกำไรจากรายการคงค้างที่ผิดปกติ และวัดจากผลต่างระหว่างกำไรที่เกิดขึ้นจริงกับกำไรจากการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ เพื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวกับการบริหารจัดการกำไร รวมถึงตัวแปรอื่นที่มีผล อาทิเช่น กลุ่มผู้ตรวจสอบบัญชี BIG4, ขนาดของกิจการ, อัตราการเติบโตของยอดขาย เป็นต้น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ยกเว้นกลุ่มธุรกิจการเงิน เก็บข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2549-2561 รวมระยะเวลา 13 ปี จากผลการศึกษาพบว่าบริษัทมีแนวโน้มในการจัดการกำไร โดยมีกำไรที่เกิดขึ้นจริงน้อยกว่ากำไรที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้เพียงเล็กน้อย โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกำไรได้แก่ รายได้ (Earning) และ รายการคงค้างที่เกิดจากดุลพินิจของฝ่ายบริหาร (Discretionary Accruals) โดยผลการทดสอบตัวแปรที่เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกำไร เนื่องจากไม่ได้มีความสัมพันธ์เชิงสถิติอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาพบว่าตัวแปรบางตัวจะมีความสัมพันธ์จะเป็นบวกกับการจัดการกำไร ได้แก่ ส่วนเจ้าของที่มีอำนาจในการควบคุมกิจการโดยคำนึงถึงอัตราส่วนของหนี้สินต่อสินทรัพย์ (LF_LEV) และ ส่วนเจ้าของที่มีอำนาจในการควบคุมกิจการและเป็นประธานกรรมการโดยคำนึงถึงอัตราส่วนของหนี้สินต่อสินทรัพย์ (CEO_LF_LEV) จากการที่บริษัทจะมีการจัดการกำไรเพื่อที่จะขอกู้เงินจากธนาคาร-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการเงิน-
dc.subjectธุรกิจครอบครัว-
dc.subjectกำไร-
dc.subjectสินค้าอุตสาหกรรม-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการกำไรกับบริษัทที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวในตลาดหลักทรัพย์ (กลุ่มธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าอุตสาหกรรม) =RELATION BETWEEN EARNING MANAGEMENT AND FAMILY FIRM: A STUDY OF STOCK EXCHANGE OF THAILAND (AGRO, CONSUMP & INDUS SECTOR)-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.019 2563.pdf818.46 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.