Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3579
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวานิช-
dc.contributor.authorปิยะนุช อาตมภูสกุล-
dc.date.accessioned2021-03-23T10:49:19Z-
dc.date.available2021-03-23T10:49:19Z-
dc.date.issued2020-11-10-
dc.identifierTP FM.020 2563-
dc.identifier.citation2563-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3579-
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดการเรียกร้องสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ โดยใช้แบบจำลอง Cox Proportional Hazard เพื่อสามารถทราบปัจจัยความเสี่ยง และนำไปร่วมพิจารณาในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์จากบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ระยะเวลาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2559-2562 (4 ปี) รวมทั้งสิ้น 14,687 กรมธรรม์ ผลการศึกษาพบว่า กรมธรรม์รถยนต์ประเภท 1 มีอัตราการเกิดการเรียกร้องสินไหมทดแทนสูงกว่ากรมธรรม์รถยนต์ประเภทอื่นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาจริยวิบัติ (Moral Hazard) คือ ผู้เอาประกันภัยมีความระมัดระวังในการขับขี่ลดลงหลังจากทำประกันภัย อย่างไรก็ตาม ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) ช่วยให้ผู้เอาประกันภัยมีความระวัดระวังในการขับขี่เพิ่มขึ้น รถทะเบียนกรุงเทพมหานคร มีอัตราการเรียกร้องสินไหมทดแทนที่สูงกว่าจังหวัดอื่น เนื่องจากความหนาแน่นในการจราจร นอกจากนั้นพบว่าผู้ขับขี่ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มีการเรียกร้องสินไหมทดแทนน้อยกว่าผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี เนื่องจากมีความชำนาญและความระมัดระวังในการขับขี่สูงกว่า ตัวแปรที่เป็นประเภทรถ พบว่ารถกระบะ มอเตอร์ไซค์ และบิ๊กไบค์ มีอัตราการเรียกร้องสินไหมทดแทนที่สูงกว่ารถประเภทอื่นๆ นอกจากนั้นงานวิจัยนี้พบว่า รถที่มีขนาดเครื่องยนต์สูงกว่า 2,000 ซีซี มีอัตราการเรียกร้องสินไหมทดแทนที่ต่ำกว่ารถยนต์ที่มีขนาดน้อยกว่า 2,000 ซีซี อย่างมีนัยสำคัญ-
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดล-
dc.subjectการเงิน-
dc.subjectสินไหมทดแทน-
dc.subjectประกันภัย-
dc.titleแบบจำลองฮาซาร์ดสำหรับการพยากรณ์โอกาสการเรียกร้องสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุรถยนต์ =HAZARD MODEL FOR PREDICTING PROBABILITY OF AUTOMOBILE ACCIDENT CLAIMS.-
dc.typeThematic Paper-
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.020 2563.pdf1.28 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.