Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3622
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พัลลภา ปีติสันต์ | - |
dc.contributor.author | วิษณุ ตันติวิท | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T10:50:00Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T10:50:00Z | - |
dc.date.issued | 2020-11-14 | - |
dc.identifier | TP BM.015 2563 | - |
dc.identifier.citation | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3622 | - |
dc.description.abstract | การเติบโตของธุรกิจโรงพยาบาลและสถานบริการพยาบาล ส่วนหนึ่งมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการรับบริการทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานและได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า ความต้องการของผลิตภัณฑ์และการบริการทางการแพทย์มากขึ้น การมีประชากรสูงอายุที่ต้องการการดูแลรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งคุณภาพของสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานและราคาค่ารักษาของไทยที่ถูกกว่าต่างชาติ จึงเป็นที่ดึงดูดผู้ป่วยชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลและสถานบริการพยาบาล มีอัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจมีการแข่งขันสูง ผู้ศึกษาวิจัยจึงต้องมีประสบการณ์คุ้นเคยในวิชาชีพด้านนี้เพื่อเข้ามาร่วมงาน เข้ามาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการจริงของผู้ใช้งาน ผู้ซื้อ และ influencer สามารถปิดช่องว่างระหว่างความคาดหวังกับสิ่งที่ได้รับของลูกค้าได้ จึงทำการวิจัยและพัฒนาพลาสเตอร์แบบใหม่ในการใส่ตัวยาลดการช้ำ การอักเสบ บวม หลังการเจาะเลือด เสริมเข้าไปได้ในเส้นใยผ้า plaster แบบใหม่นี้ เพื่อสร้างความปลอดภัย ปลอดเชื้อ ความสะดวกสบายความสบายใจ และมั่นใจมากขึ้นกับทั้งพนักงานเจาะเลือดและผู้รับการเจาะเลือด การวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการไปสัมภาษณ์กลุ่มพนักงานเจาะเลือดที่อยู่กับงานการเจาะเลือดทุกวันในโรงพยาบาล และหัวหน้าแผนกการเจาะเลือด ลงไปเจาะลึกและการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจแล้ว เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยของผู้บริโภคในการตัดสินใจใช้พลาสเตอร์ยาแบบใหม่ และนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางการทำแผนธุรกิจพลาสเตอร์ยาแบบใหม่ โดยตั้งชื่อว่า “The New PlasTor” และนำไปสู่การผลิตสู่ตลาดจริง เนื่องจากผู้วิจัยมีความสนใจในธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพซึ่งผู้วิจัยทำงานเกี่ยวข้องในวิชาชีพนี้ การติด plaster หลังเจาะเลือดในปัจจุบันตามโรงพยาบาลต่างๆ มีเพียงการนำ Counterpain cool หรือ Reparil- gel n ทาหลังจากการเจาะเลือดเท่านั้น การเปิดแผลหลังกดห้ามเลือดแล้ว และทายาลงบนแผลและรอบรอยเจาะเลือด หรือคนไข้กลับไปประคบเย็นเองที่บ้านภายหลังการเขียวช้า ซึ่งการกลับไปประคบเย็นเองหรือทายาเองภายหลังอาจจะทาให้การช้าหายช้ากว่าเมื่อไม่ทาหลังการเจาะเลือด ผู้เจาะเลือดและผู้รับบริการเจาะเลือดมีความกังวลใจหลังการเจาะเลือดเนื่องจากไม่แน่ใจว่าไหนที่เจาะไปแล้วจะเกิดอาการเขียวช้ารุนแรงหลังจากผู้ป่วยกลับบ้าน การทายา Reparil gel n ลงไปอีกทีหลังเจาะ จึงเป็นความยุ่งยากเสียเวลาและอาจไม่ถูกหลักความปลอดภัยและอาจมีการติดเชื้อได้จากการที่ bacteria ต่างๆปนเปื้อนได้ ในปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาล ถือเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูง ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมเพื่อรักษาลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ และเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ในระยะยาว | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | แผนธุรกิจ | - |
dc.subject | การเจาะเลือด | - |
dc.subject | พลาสเตอร์ | - |
dc.title | แผนธุรกิจพลาสเตอร์แบบใหม่ลดการเขียวบวมช้าหลังการเจาะเลือด | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.015 2563.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.