Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3631
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน:กรณีศึกษาหน่วยงาน Business Stakeholder Engagement ของบริษัทแห่งหนึ่ง =FACTORS AFFECTING THE ORGANIZATIONAL COMMITMENT: A CASE STUDY OF THE EMPLOYEES OF BUSINESS STAKEHOLDER ENGAGEMENT DEPARTMENT OF A COMPANY.
Authors: กรวิชญ์ สัณฑิติ
Keywords: ทุนมนุษย์และการจัดการองค์กร
ความผูกพันต่อองค์กร
Business Stakeholder Engagement
Issue Date: 24-Nov-2020
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2563
Abstract: การเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันย่อมส่งผลกระทบต่อความผูกพันต่อองค์กรของ พนักงาน (Organizational Commitment) ความเข้าใจถึงปัจจัยที่จะส่งผลให้พนักงานเกิดความผูกพันต่อองค์กรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรให้ ความสำคัญ เพื่อให้พนักงานในองค์กรเกิดความผูกพันต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ได้ การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน: กรณีศึกษาหน่วยงาน Business Stakeholder Engagement ของ บริษัทแห่งหนึ่ง” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างพนักงานในสังกัด หน่วยงาน Business Stakeholder Engagement ของบริษัทแห่งหนึ่งที่ได้เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรอันเนื่องมาจากการปฏิรูปองค์กร การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเน้นศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะงาน ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ และปัจจัย ด้านคุณลักษณะโครงสร้าง กับความสัมพันธ์ต่อความผูกพันที่มีต่อองค์กรด้านจิตใจ (Affective Commitment) ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 168 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ ได้แก่ ช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร (β = 0.474, p < 0.001) บทบาทของผู้บริหารที่เป็นผู้นำ และเป็นแบบอย่าง (β = 0.283, p < 0.001) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับพนักงาน (β = -0.207, p < 0.01) ความอิสระของงาน (β = 0.183, p < 0.05) และความไม่ชัดเจน ในบทบาท (β = -0.137, p < 0.05) ตามลำดับ ซึ่งสนับสนุนกรอบแนวคิดปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของ Mowday, Porter, and Steers (1982) และแนวความคิดของ Allen and Meyer (1990) ในบางส่วน และผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานที่มี ต่อองค์กร โดยการจัดให้มีช่องทางการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้บริหารให้เป็น ผู้บริหารที่ดีและเป็นแบบอย่าง ลดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้บังคับบัญชาลง สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถมี อิสระในการทำงาน ตลอดจนให้ความกระจ่างชัดในบทบาทในการทำงานของพนักงานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรด้านด้าน จิตใจเพิ่มมากขึ้น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3631
Other Identifiers: TP HOM.001 2563
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP HOM.001 2563.pdf1.19 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.