Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3803
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ตฤณ ธนานุศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | ณฌา มนต์ปณิชา | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T11:05:17Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T11:05:17Z | - |
dc.date.issued | 2021-01-28 | - |
dc.identifier | TP MS.038 2563 | - |
dc.identifier.citation | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3803 | - |
dc.description.abstract | เนื่องด้วยปัจจุบันความต้องการของลูกค้าและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บริษัทขนาดใหญ่จึงหันมาสนใจการปฏิรูปองค์กรควบคู่กับการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความพึงพอใจของพนักงานภายหลังการปรับโครงสร้างองค์กรจากการทางานแบบแบ่งตามหน้าที่ (Functional structure ) มาเป็นการทำงานโดยใช้แนวคิดแบบอไจล์ (Agile Organization) ของบริษัทเครื่องมือแพทย์ งานวิจัยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับพนักงานปัจจุบันซึ่งทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งนี้ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลักคือ 1. ปัจจัยด้านความสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งเกิดจากการที่พนักงานทำงานมีประสิทธิผลและมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง 2. ปัจจัยด้านการได้รับการยอมรับนับถือจากเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างานซึ่งเกิดจากการได้รับความเคารพเชื่อถือและมีความก้าวหน้าในงานที่ทำ 3. ปัจจัยด้านการเพิ่มการสื่อสารกันให้มากขึ้นภายในทีมซึ่งเกิดการที่บริษัทมีนโยบายที่ชัดเจน การบริหารและการควบคุมงานที่ดีของหัวหน้างานและมีการทำงานเป็นทีมและ 4. ปัจจัยด้านการกระตุ้นให้สมาชิกปรับปรุงและพัฒนาตัวเองซึ่งเกิดจากงานที่ได้รับมอบหมายนั้นมีเนื้องานน่าสนใจและมีความมั่นคง ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และความต้องการของตลาด ตลอดจนการเพิ่มความพึงพอใจของพนักงานให้มากขึ้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะทั้งหมด 4 ข้อดังนี้ 1. ในด้านโครงสร้าง ควรปรับจำนวนทีมใหม่ให้มีจำนวนที่น้อยลงและมีการบริหารจัดการแบบบริษัท มีการจัดพนักงานส่วนหนึ่งให้เป็นผู้สนับสนุนจากส่วนกลาง และมีการจัดส่วนงานตรวจสอบการทำงาน เพื่อให้พนักงานทางานได้ตามมาตรฐานในทิศทางเดียวกัน 2. ด้านวิธีการทำงาน ควรสร้างกิจกรรมที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือมากขึ้น ตามวิธีการทำงานแบบ Flight levels เพื่อให้เกิดความร่วมมือของพนักงานทุกระดับ 3. ด้านการตั้งเป้าหมายเสนอการใช้ OKRs ร่วมกับ KPI เพื่อให้พนักงานทุกคนในองค์กรทราบวิธีการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ 4. ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการ จะต้องทำทั้งด้านการให้บริการและด้านการพัฒนาสินค้าใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานและเพิ่มความพึงพอใจให้ดียิ่งขึ้น | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการและกลยุทธ์ | - |
dc.subject | Employee satisfaction | - |
dc.subject | Agile organization | - |
dc.subject | OKRs | - |
dc.title | การศึกษาความพึงพอใจของพนักงานภายหลังการปรับโครงสร้างองค์กรจากการทำงานแบบแบ่งตามหน้าที่ (Functional structure ) มาเป็นการทำงานโดยใช้แนวคิดแบบอไจล์ (Agile Organization): กรณีศึกษาบริษัทเครื่องมือแพทย์ = EMPLOYEE SATISFACTION AFTER THE ORGANIZATIONAL RESTRUCTURING FROM FUNCTIONAL STRUCTURE TO AGILE ORGANIZATION: THE CASE OF A MEDICAL EQUIPMENT COMPANY | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.038 2563.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.