Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3820
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ณัฐวุฒิ พิมพา | - |
dc.contributor.author | นันท์พนิตา จิตร์ระเบียบ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T11:05:23Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T11:05:23Z | - |
dc.date.issued | 2021-02-09 | - |
dc.identifier | TP BM.023 2563 | - |
dc.identifier.citation | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3820 | - |
dc.description.abstract | รายงานวิจัย เรื่อง องค์กรในประเทศไทยกับการบริหารจัดการความหลากหลาย : การส่งเสริมสิทธิและนโยบายของบริษัทต่อกลุ่มพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยประกอบไปด้วยการกระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และกระบวนการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษานโยบายด้านสิทธิและความเท่าเทียมของพนักงานกลุ่ม LGBTIQ ขององค์กรในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยในองค์กรที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายด้านสิทธิและความเท่าเทียมของพนักงานกลุ่ม LGBTIQ ขององค์กรในประเทศไทย และ 3. เพื่อเป็นข้อเสนอแนะให้กับองค์กรต่าง ๆ ในการกำหนดนโยบายด้านสิทธิและความเท่าเทียมของพนักงานกลุ่ม LGBTIQ ในอนาคตต่อไป โดยผู้ให้สัมภาษณ์เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่ในส่วนการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลและในส่วนการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการออกนโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ภายในองค์กร จำนวน 5 ท่าน เป็นตัวแทนองค์กรชั้นนำในประเทศไทยจำนวน 5 แห่งที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เป็นเพศชาย 4 คน และเพศหญิง 1 คน และทั้งหมดมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 7 ปีทั้งนี้ ผลการการวิจัยพบว่า มีองค์กรเพียง 2 ใน 5 ที่มีนโยบายนโยบายและการกำหนดสิทธิที่เกี่ยวกับ LGBTIQ ในองค์กร โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการมีหรือไม่มีนโยบายดังกล่าว ได้แก่ 1. ทัศนคติของพนักงานงานและผู้บริหารในองค์กร โดยพนักงานในองค์กรที่มีการรับรู้และความเข้าใจต่อความหลากหลาย มีทัศนคติที่เปิดกว้างและยอมรับในเรื่องความหลากหลายทางเพศ มีการเคารพและการให้เกียรติกันระหว่างพนักงานในองค์กร จะส่งผลให้องค์กรเกิดนโยบายและการกำหนดสิทธิที่เกี่ยวกับ LGBTIQ ได้มากกว่า 2. วัฒนธรรมองค์กร องค์กรที่มีการรับรู้และความเข้าใจในความสำคัญของความหลากหลายในระดับองค์กร จะส่งเสริมและผลักดันในเกิดนโยบายดังกล่าวขึ้นได้มากกว่าองค์กรไม่มีการกระตือรือร้นในการผลักดันให้เกิดนโยบายหรือมองไม่เห็นความสำคัญของประเด็นสิทธิของกลุ่มพนักงาน LGBTIQ ก็ย่อมส่งผลให้องค์กรไม่มีนโยบายและการกำหนดสิทธิที่เกี่ยวกับ LGBTIQ 3. การไม่มีกฎหมายในระดับประเทศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิและสวัสดิการที่พึงได้ของกลุ่มพนักงาน LGBTIQ องค์กรมองว่าเมื่อกฎหมายไม่มีก็ไม่สามารถออกนโยบายหรือกำหนดสิทธิที่เกี่ยวกับ LGBTIQ ได้ เนื่องจากนโยบายขององค์กรจำเป็นต้องอ้างอิงกฎหมายระดับประเทศ 4. พลวัตของสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปของสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทัศนคติ การรับรู้ ความเข้าใจของคนในสังคมที่มีต่อความหลาย | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | ความหลากหลาย | - |
dc.subject | LGBTIQ | - |
dc.subject | ผู้มีความหลากหลายทางเพศ | - |
dc.title | องค์กรในประเทศไทยกับการบริหารจัดการความหลากหลาย: การส่งเสริมสิทธิและนโยบายของบริษัทต่อกลุ่มพนักงานที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) =DIVERSITY MANAGEMENT IN THAI ORGANIZATIONS: LGBTIQ-RELATED RIGHTS AND POLICIES IN WORKPLACE. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.023 2563.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.