Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3854
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | สุภรักษ์ สุริยันเกียรติแก้ว | - |
dc.contributor.author | วัชราภรณ์ วายลม | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T11:05:37Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T11:05:37Z | - |
dc.date.issued | 2021-02-23 | - |
dc.identifier | TP BM.037 2563 | - |
dc.identifier.citation | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3854 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการเจเนอเรชั่น X ในสังกัดกระทรวงการคลัง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต ในการทำงานและระดับความผูกพันต่อองค์กร และเพื่อศึกษาปัจจัยคุณภพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลทางบวกต่อความผูกพันต่อองค์กร โดยการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มข้าราชการเจเนอเรชั่น X ในสังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน 17,411 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.874 และค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นกับปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.07 2) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นกับปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.40 และ 3) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 8 ด้าน สามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยความผูกพันต่อองค์กในแต่ละด้าน คือ (1) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานสามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยความผูกพันด้านความเชื่อมั่นและการยอมรับเป้าหมาย ค่านิยมขององค์กรได้ร้อยละ 48.30 (2) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานสามารถอธิบายความผันแปร ของปัจจัยความผูกพันด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามและความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ขององค์กรได้ร้อยละ 52.90 และ (3) ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานสามารถอธิบายความผันแปรของปัจจัยความผูกพันด้านความต้องการที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกขององค์กรต่อไปได้ร้อยละ 53.60 ทั้งนี้ ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานทั้ง 8 ด้าน มีผลต่อความผันแปรของปัจจัยความผูกพันต่อองค์กรด้านความต้องการที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกขององค์กรต่อไปมากที่สุด | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | Generation X | - |
dc.subject | คุณภาพชีวิตในการทำงาน | - |
dc.title | การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการเจเนอเรชั่น X ในสังกัดกระทรวงการคลัง =A STUDY IN THE QUALITY OF WORKING LIFE AND MAINTAINING ORGANIZATIONAL ENGAGEMENT OF GOVERNMENT OFFICERS: A CASE STUDY IN GENERATION X. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.037 2563.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.