Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3934
Title: | กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันประเภท TikTok เปรียบเทียบระหว่างเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | MARKETING STRATEGIES AFFECTING TIKTOK APPLICATION USAGE BEHAVIOR COMPARING GENERATION-Y AND GENERATION-Z IN BANGKOK. |
Authors: | สวรรยา, วัฒนกิจเจริญมั่น |
Keywords: | การจัดการและกลยุทธ์ TikTok แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย เจเนอเรชั่นวาย เจเนอเรชั่นแซด |
Issue Date: | 7-Feb-2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ระหว่างเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) และเพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ระหว่างเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) กลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยที่ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ทั้งเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) อายุตั้งแต่ 25 – 40 ปี และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) อายุตั้งแต่ 18 – 24 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และนามาวิเคราะห์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผู้ใช้เจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ที่แตกต่างกัน 2) ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok เจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศและอาชีพที่แตกต่างจะมีพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ที่แตกต่างกัน3) ผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ระหว่างเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) มีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันที่แตกต่างกันในด้านความถี่ในการใช้งาน ความพึงพอใจ การบอกต่อและการมีปฏิสัมพันธ์ 4) กลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ ความหลากหลายของเนื้อหา การสร้างรายได้ ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน และการตลาดโดยใช้กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันในด้านความถี่ในการใช้งานของผู้ใช้เจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) 5) กลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ ความหลากหลายของเนื้อหา ความปลอดภัยของแอปพลิเค และการตลาดโดยใช้กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันในด้านความพึงพอใจ ด้านการบอกต่อและด้านการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้เจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด (Gen-Z) นอกจากนี้จากผลวิจัยสรุปได้ว่าความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นตัวแปรกากับความสัมพันธ์ระหว่าง 7) กลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างรายได้กับพฤติกรรมด้านความถี่ในการใช้งาน 8) กลยุทธ์ทางการตลาดด้านความหลากหลายของเนื้อหา ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน และการตลาดโดยใช้กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์กับพฤติกรรมด้านความพึงพอใจ 9) กลยุทธ์ทางการตลาดด้านความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน และการตลาดโดยใช้กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์กับพฤติกรรมด้านการบอกต่อ 10) กลยุทธ์ทางการตลาดด้านความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน และการตลาดโดยใช้กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์กับพฤติกรรมด้านการมีปฏิสัมพันธ์ และการรับรู้วิกฤตโควิด-19 เองก็เป็นตัวแปรกากับความสัมพันธ์ระหว่าง 11) กลยุทธ์ทางการตลาดด้านความหลากหลายของเนื้อหา การสร้างรายได้ และการตลาดโดยใช้กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์กับพฤติกรรมการด้านความถี่ในการใช้งาน 12) กลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างรายได้กับพฤติกรรมด้านความพึงพอใจ ทั้งนี้ผลวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้สามารถนาข้อมูลไปประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ของธุรกิจ ทาให้ทราบถึงสิ่งที่เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ของเจเนอเรชั่น วาย (Gen-Y) และเจเนอเรชั่น แซด และยังสามารถเป็นข้อมูลสาหรับการศึกษาให้กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ หรือผู้ที่มีความสนใจในธุรกิจนี้ได้อีกด้วย |
Description: | 122 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3934 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.013 2564.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.