Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3976
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ปิยภัสร ธาระวานิช | - |
dc.contributor.author | วิภาดา, นิรมาณการย์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-05-19T07:42:25Z | - |
dc.date.available | 2021-05-19T07:42:25Z | - |
dc.date.issued | 2020-10-27 | - |
dc.identifier.other | TP FM.062 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3976 | - |
dc.description | 95 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาความสม่ำเสมอและแนวโน้มการลู่เข้าสู่ค่ามัธยฐานของกลุ่มอุตสาหกรรมเมื่อระยะเวลาผ่านไป ของผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบริษัท (Return on investment capital (ROIC)) ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมของบริษัทที่ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ไม่รวมกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงิน เงินทุนและหลักทรัพย์และกองทุน รวมอสังหาริมทรัพย์ การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีทางสถิติ Pearson correlation, Spearman Rank-Correlation , Goodman Kruskal Gamma, Panel Unit root test (IPS test, Fisher’s type test และ Pesaran CADF) และการหาระยะเวลาจากค่าเริ่มต้นลดลงครึ่งหนึ่ง (Half-Life) โดยใช้ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2543 – 2562 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 5,754 ปีบริษัท ผลการศึกษาพบว่า ความสม่ำเสมอของผลตอบแทนจากการดำเนินงานด้วยวิธี Pearson correlation, Spearman Rank-Correlation และ Goodman Kruskal Gamma ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมมีความสม่ำเสมอของผลตอบแทน จากการดำเนินงาน ในขณะที่ช่วงระยะเวลา 5 ปี และ 10 ปี กลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงความสามารถในการรักษาความ สม่ำเสมอของผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้ และเมื่อทดสอบด้วยวิธีแพนแนลยูนิทรูท คือ IPS test และ Fisher’s type test พบว่า ถ้าข้อมูลเป็นภาคตัดขวางที่มีอิสระต่อกัน (Cross-sectional independency) เมื่อระยะเวลาผ่านไปผลตอบแทนจากการดำเนินงานจะลู่เข้าสู่ค่ามัธยฐานของกลุ่มอุตสาหกรรม แต่เมื่อทดสอบด้วย CADF-test ซึ่งเป็นข้อมูลภาคตัดขวางที่มี ความสัมพันธ์กัน (Cross-sectional dependency) ผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบริษัทจะไม่ลู่เข้าสู่ค่ามัธยฐานของกลุ่มอุตสาหกรรม ผลการศึกษาดังกล่าวตีความได้ว่า กลุ่มอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ มีความสม่ำเสมอของผลตอบแทนจากการ ดดำเนินงาน และจะไม่ลู่เข้าสู่ค่ามธัยฐานของกลุ่มอุตสาหกรรม ตามการทดสอบ Pesaran’s CADF-test เนื่องจากการทดสอบนี้ มีสมมุติฐานที่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ว่าข้อมูลภาคตัดขวางมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ หากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อระบบ เศรษฐกิจโดยรวม อาจส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่นๆด้วย นอกจากนี้งานวิจัยฉบับนี้ได้มีการทดสอบ Half life พบว่า กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมมีค่าระยะเวลาจากค่าเริ่มต้นลดลงครึ่งหนึ่งยาวนานกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การเงิน | en_US |
dc.subject | ความสม่ำเสมอ | en_US |
dc.subject | ผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบริษัท | en_US |
dc.title | ความสม่ำเสมอและแนวโน้มของผลตอบแทนจากการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | MEAN REVERSION AND PERSISTENCE OF RETURN ON INVESTMENT CAPITAL (ROIC) | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FM.062 2563.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.