Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4203
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | กิตติชัย ราชมหา | - |
dc.contributor.author | ธัญญารัตน์, คำมา | - |
dc.date.accessioned | 2021-12-13T02:28:54Z | - |
dc.date.available | 2021-12-13T02:28:54Z | - |
dc.date.issued | 2021-10-24 | - |
dc.identifier.other | TP FB.004 2564 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4203 | - |
dc.description | 107 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | “ขยะอาหาร” กําลังเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลก รวมไปถึงองค์กรระหว่าง ประเทศหันมาให้ความสําคัญ เนื่องจากการเน่าเสียของขยะอาหารปล่อยก๊าซเรือนกระจกปล่อยสู่ชั้น บรรยากาศ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทําให้โลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 25 เท่า และในแต่ละปีจะมีขยะอาหารที่ต้องถูกฝังกลบมากกว่าหนึ่งพันล้านตัน แต่ในทางกลับกันยังคงมีจํานวน ประชากรทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ตามความต้องการของร่างกาย เนื่องจากข้อจํากัดทางด้าน สภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่และอีกหลายเหตุผลประกอบกัน ส่งผลให้ต้องเผชิญกับความหิวโหย มากกว่า 870 ล้านคน ซึ่งประชากรเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้นั้นอาศัยอยู่ใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยด้วยเช่นกันที่ไม่มีอาหารเพียงพอ ปัจจุบันข้อมูลของของกรมควบคุมมลพิษพบว่า ขยะอาหารในประเทศไทยคิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด โดยในจังหวัด กรุงเทพมหานคร มีการรีไซเคิลขยะอาหารเพียงแค่ 2% เท่านั้น ที่เหลือจะนําไปกําจัดโดยวิธีการฝังกลบ รวมที่ไม่มีระบบการจัดการแบบถูกสุขาภิบาล ทําให้จังหวัดกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมากเป็น อันดับ 4 จาก 22 เมืองใหญ่ในทวีปเอเชีย จากปัญหาขยะอาหารที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจของครอบครัวผู้ศึกษาถือว่ามีส่วนที่ทําให้ เกิดขยะอาหาร เนื่องจากครอบครัวของผู้ศึกษาได้จัดจําหน่ายผักสด ผลไม้และอาหารสด ซึ่งส่วนใหญ่ พบว่าแต่ละล๊อตของสินค้าจะพบสินค้าที่ตกสเปค อย่างเช่น ดอกกะหลํ่าขาว มีรอยดํา รอยชํ้าหรือเน่า เพียงบางส่วนของหัวดอกกะหล่ำขาว ก็ไม่สามารถจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้และนําไปทิ้งขยะ ทําให้เกิดต้นทุนขายค่อนข้างสูง คิดเป็น 5-10 % ต่อล็อตที่นําเข้าสินค้า ผู้ศึกษาจึงทําการค้นคว้างานวิจัยและ ประโยชน์ของดอกกะหล่ำขาว เพื่อจะนำมาแปรรูปสินค้า นำต้นทุนขายที่เสียไปจากสินค้าที่ตกสเปคเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจของครอบครัวผู้ศึกษา จึงออกมาเป็นแผนธุรกิจขนมบราวนี่จาก Surplus Food ดอกกะหล่ำทดแทนแป้ง จากการลงทุนในแผนธุรกิจโดยมีมูลค่าการลงทุนที7 1,500,000 บาท สามารถสร้างมูลค่า ปัจจุบันสุทธิของโครงการ (NPV) ได้ 9,097,280.95 บาท มีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ที7 89% และ มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 2 ปี 9 เดือน ซึ่งคิดจากการลงทุนในโครงการ 5 ปี แสดงให้เห็นถึงความ เป็นไปได้ในการลงทุนในแผนธุรกิจนี่ พร้อมกับเพิ่มความหลายหลายของขนมเพื่อสุขภาพในตลาดอีกด้วย | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | การจัดการธุรกิจอาหาร | en_US |
dc.subject | ดอกกะหล่ำ | en_US |
dc.subject | บราวนี | en_US |
dc.subject | ขนมเพื่อสุขภาพ | en_US |
dc.subject | Surplus Food | en_US |
dc.subject | ขยะอาหาร | en_US |
dc.title | แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ขนมบราวนี่จาก Surplus Food ดอกกะหล่ำแทนแป้ง | en_US |
dc.title.alternative | BUSINESS PLAN FORBROWNIE FROM SURPLUS CUALIFLOWER SUBSTITUTING FOR FLOUR | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FB.004 2564.pdf | 8.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.