Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4210
Title: | การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านทาง Application Shopee ของผู้บริโภค Gen X และ Gen Y |
Other Titles: | THE STUDY OF BEHAVIOR AND FACTORS AFFECTING DIETARY SUPPLEMENTS PURCHASING DECISION ON APPLICATION SHOPEE FOR DIFFERENT GENERATIONS: GEN X AND GEN Y |
Authors: | เพ็ญพิชชา, สมบัติเจริญเมือง |
Keywords: | การจัดการธุรกิจ การตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Application Shopee Gen X Gen Z |
Issue Date: | 11-Sep-2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ทำการศึกษาเฉพาะกลุ่มตัวอย่างที่เคยมี ประสบการณ์การซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านทาง Application Shopee อย่างน้อย 1 ครั้ง กำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 386 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิง พรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่ออภิปรายข้อมูลทั่วไปรวมถึงพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผ่าน Application Shopee ของกลุ่มตัวอย่าง และใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) ด้วยวิธี Enter Mode ในการทดสอบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่าน Shopee ของกลุ่มตัวอย่าง ในส่วนของข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน และมีการศึกษาในระดับปริญาตรี กลุ่ม Gen X มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 50,000 - 69,999 บาท และ Gen Y มีรายไดเ้ฉลี่ยต่อเดือน 30,000 - 49,999 บาท ในด้านพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นประเภทของผลิตภัณฑ์เสริม ที่กลุ่มตัวอย่างมีการซื้อเป็นประจ ามากที่สุด ด้วยราคาเฉลี่ยในการซื้อสินค้าต่อครั้งของ Gen X และ Gen Y อยู่ที่ 1,000 – 5,000 บาท และ 500-1,000 บาท ตามล าดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีความถี่ในการสั่งซื้อ จากช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน และในส่วนของผลการวิจัยทางสถิติ พบว่า มี 4 ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ปัจจัยด้านความเคยชิน (HB) ปัจจัยด้าน สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน (FC) ปัจจัยด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพ (PE) และปัจจัยด้านอิทธิพลของสังคม (SI) ส่วนปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ปัจจัยด้านความคาดหวังในความพยายาม (EE) นอกจากนี้ ปัจจัยด้านความเชื่อมั่น (TR) และ ปัจจัยด้านมูลค่าราคา (PV) ยังส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของ Gen X ในขณะที่ปัจจัยด้านแรงจูงใจด้านความบันเทิง (HM) ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของ Gen Y เพียงกลุ่มเดียว |
Description: | 128 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4210 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.062 2564.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.