Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4245
Title: | การศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 ในอนาคต กรณีศึกษาในมิติองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่เชิงนโยบาย ที่มีต่ออุตสาหกรรมเกษตรของไทย ด้านปศุสัตว์และประมง |
Other Titles: | A STUDY OF TECHNOLOGY ROADMAP FOR THAILAND’S LIVESTOCK AND FISHERIES PERSPECTIVES; IN PUBLIC POLICY-MAKER PERSPECTIVE |
Authors: | ธีระทัศน์, ศิรฐิตินันท์ |
Keywords: | การจัดการและกลยุทธ์ เกษตรกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ ภาคอุตสาหกรรม แผนที่นำทาง ปศุสัตว์และประมง |
Issue Date: | 26-Oct-2021 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเพื่อการจัดทำแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับปศุสัตว์และประมงเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในมิติของภาคหน่วยงาน ที่มีบทบาทกำหนดนโยบาย เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ “การจัดทำ แผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมอาหารเพื่ออนาคตเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0” ดำเนินการโดย ผศ.ดร.กิตติชัย ราชมหา ในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยและคณะทำงานของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยโครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) การพัฒนาอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการปศุสัตว์และการประมง (Livestock and Aquaculture) ของประเทศไทยนั้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทและให้ ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก สำหรับการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานภาพการวิจัยและพัฒนาของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเทคโนโลยี รวมถึงเครือข่ายนักวิจัย (Social Network Analysis) สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมการปศุสัตว์และการประมง (2) เพื่อกำหนดแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการปศุสัตว์และการประมง เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการผลักดันและ ขับเคลื่อนงานดำเนินงานตามแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมการปศุสัตว์และการประมง (4) เพื่อเสนอแนวทางในการติตตามความก้าวหน้าของ งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้มีการทบทวนและระบุสถานะของแผนที่นำทางในแต่ละช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการปศุสัตว์และการประมง (Livestock and Aquaculture) โดยผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยแบบไม่อาศัย ความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) ด้วยวิธีการจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยงาน โดยใช้การอภิปรายกลุ่ม (Focus Group Discussion) โดยใช้เครื่องมือการเก็บรวมรวมข้อมูลการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview Form) เป็นเครื่องมือในการทำวิจัย การประมวลผลข้อมูลการวิจัยนี้ อาศัยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลปฐมภูมิที่เก็บรวบรวมทั้งในมิติอุปสงค์ กล่าวคือ ข้อมูลจากอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมการปศุสัตว์และการประมง ขณะที่ด้านอุปทาน กล่าวคือ ข้อมูลภายใต้มิติด้านหน่วยงานที่มีบทบาทกำหนดนโยบาย หน่วยงานภาควิชาการและสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์บรรณมิติโดยอาศัยโปรแกรมอาร์ (R Program) สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิประเภทผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและ นานาชาติอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิผลต่อการนำมาพัฒนาแผนที่นำทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสาขาอุตสาหกรรมการประมงและการปศุสัตว์ เพื่อรองรับ ยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มุ่งสู่ยุค 4.0 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และภายใต้ขอบเขตการศึกษาวิจัยนี้ |
Description: | 132 แผ่น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4245 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.053 2564.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.