Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4383
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorพัลลภา ปีติสันต์-
dc.contributor.authorศศิณ จิตต์ประพัฒน์-
dc.date.accessioned2022-06-07T09:17:58Z-
dc.date.available2022-06-07T09:17:58Z-
dc.date.issued2022-03-30-
dc.identifier.otherTP BM.008 2565-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4383-
dc.description35 แผ่นen_US
dc.description.abstractปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าขึ้น โรงพยาบาลมีการสร้างและจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ปริมาณมหาศาลในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นทุกวัน เช่น เวชระเบียนและประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย รวมถึงข้อมูลการตรวจทางคลินิกในระบบการรักษาพยาบาล เป็นต้น และการพัฒนาอย่างรวดเร็วของวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การแปลงข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในทางการแพทย์เป็นที่น่าสนใจและเป็นความท้าทายอย่างมาก บทบาทของเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) จึงเข้ามามีความสำคัญ จากการใช้อัลกอริทึม (Algorithm) ที่ซับซ้อนเพื่อเรียนรู้ (Learning) จากข้อมูลการดูแลสุขภาพจำนวนมาก แล้วใช้ข้อมูลเชิงลึกที่ได้ไปช่วยเหลือการปฏิบัติทางคลินิก นอกจากนี้การติดตั้งความสามารถในการเรียนรู้และแก้ไขปัญญาด้วยตัวเองได้ เพื่อปรับปรุงความแม่นยำตามผลตอบรับให้วินิจฉัยและการรักษาได้ถูกต้องโดยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) งานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาบรรณมิติของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในโรงพยาบาลโดยใช้ข้อมูลงานวิจัยจากฐานข้อมูล Scopus ที่ผ่านการคัดกรองเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งหมด 845 บทความ ตั้งแต่ปีค.ศ.1977 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 พบว่างานมีการตีพิมพ์จำนวนมากใน สหรัฐอเมริกา จัน และอังกฤษ ตามลำดับ โดยวารสารที่เป็นหัวใจสาคัญในการศึกษางานวิจัยหัวข้อนี้ที่ถูกอ้างถึงและถูกอ้างอิงร่วมมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ Journal of the American Medical Informatics Association จากสหรัฐอเมริกา และกลุ่มวารสารส่วนใหญ่อยู่ในสาขาสาขาข้อมูลสุขภาพ และเมื่อนำข้อมูลไปศึกษาในโปรแกรม VOSviewer สามารถจัดกลุ่มชุดข้อมูล (Schools of thought) ตามการศึกษาของกลุ่มนักวิจัยได้เป็น 4 กลุ่มหลัก คือ “การวินิจฉัยอัจฉริยะ (Intelligent Diagnostic)” “การวินิจฉัยเบื้องต้นและการติดตามโดยการจดจำรูปแบบ (Early Diagnosis and Monitoring by Pattern Recognition)” “ความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย (Patient Information Safety)” และ “ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)”และจากการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดจะพบว่าคีย์เวิร์ดที่มีความน่าสนใจและเป็นเทรนด์การศึกษาในปัจจุบัน คือ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เครื่องอัตโนมัติ (Automation) ระบบการดูแลสุขภาพ (Health Care System) อัลกอริทึม (Algorithm) และการเรียนรู้เครื่อง (Machine Learning)en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการธุรกิจen_US
dc.subjectArtificial Intelligenceen_US
dc.subjectAlgorithmen_US
dc.subjectBig Dataen_US
dc.subjectLearningen_US
dc.titleการศึกษาบรรณมิติของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในโรงพยาบาล จากฐานข้อมูล Scopusen_US
dc.title.alternativeA BIBLIOMETRIC REVIEW OF ARTIFICIAL INTELLIGENCE IN HOSPITALS IN SCOPUS DATABASEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.008 2565.pdf1.12 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.