Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4398
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวานิช-
dc.contributor.authorพีรวัส, เหรียญเสาวภาคย์-
dc.date.accessioned2022-06-09T07:43:15Z-
dc.date.available2022-06-09T07:43:15Z-
dc.date.issued2022-02-28-
dc.identifier.otherTP FM.007 2565-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4398-
dc.description71 แผ่นen_US
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาถึงผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 ต่ออัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติรายวัน (Abnormal Returns) และปริมาณการซื้อขายที่ผิดปกติรายวัน (Abnormal Volume) ของหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ (Business sectors) แบ่งตามมาตรฐาน GICS โดยรวบรวมทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการส่งสัญญาณ (Signaling Theory), ทฤษฎีตลาดที่มีประสิทธิภาพ (Efficiency Market Hypothesis), ทฤษฎีพฤติกรรมการลงทุน (Investor’s Behavior Theory) และการตอบสนองที่มากหรือน้อยเกินไป (Over and Under Reacting) โดยศึกษาข้อมูลจากบริษัทจดทะเบียน ทั้งสิ้น 795 บริษัท ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ถึง 29 กันยายน 2564 จากผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 4 ระลอกของการแพร่ระบาด พบการเกิดอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย ที่ผิดปกติ (Average Abnormal Return : AAR) อย่างมีนัยสำคัญ โดยระลอกที่ 1 พบการเกิดอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติเชิงลบมากที่สุด เนื่องจากเป็นการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลต่อเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ส่งผลให้ต้องใช้มาตรการ Circuit Breaker ในรอบ 12 ปีนับตั้งแต่ปี 2551 ส่วนระลอกที่ 3 พบการเกิดอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติเชิงลบน้อยที่สุด เนื่องจากประเทศไทยเริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทำให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยที่มีอาการหนักมีจำนวนลดลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนมีเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ มากที่สุด คือ กลุ่มการเงินการธนาคาร และกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับปัจจัยบวก คือ กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและกลุ่มบริการสุขภาพ เนื่องจากเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สามารถทำกำไรได้ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการเงินen_US
dc.subjectโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019en_US
dc.subjectตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.subjectอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติen_US
dc.subjectปริมาณการซื้อขายที่ผิดปกติen_US
dc.titleผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยทั้ง 4 ระลอกต่ออัตราผลตอบแทนรวมของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติสะสมของหลักทรัพย์ในกลุ่มการเงิน, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์, กลุ่มสินค้าจำเป็น และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยen_US
dc.title.alternativeTHE FOUR WAVES OF COVID-19 AND THE CUMULATIVE ABNORMAL RETURNS OF THE STOCK MARKET: EVIDENCE FROM THAILAND IN FINANCIALS, REAL ESTATE, CONSUMER STAPLES AND CONSUMER DISCRETIONARY SECTORS.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.007 2565.pdf1.79 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.