Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4433
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorธนพล วีราสา-
dc.contributor.authorปพิชญา, เรืองฤทธิ์-
dc.date.accessioned2022-06-21T07:32:38Z-
dc.date.available2022-06-21T07:32:38Z-
dc.date.issued2022-02-25-
dc.identifier.otherTP BM.015 2565-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4433-
dc.description40 แผ่นen_US
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) องค์การ อนามมัยโลก (WHO) มีการคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่าง น้อยร้อยละ 3 ต่อปี ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวนมากกว่า 12 ล้านคน หรือราว 18% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 20% ในปี พ.ศ.2564 ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นกลุ่มสังคมผู้สูงอายุ หรือวัยหลังเกษียณ เป็นกลุ่มคนที่ต้องการมีสุขภาพที่แข็งแรง มีศักยภาพในการใช้จ่าย มีเวลาว่าง สามารถเข้าสื่อได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วิทยุ และใน ปัจจุบันสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น ยูทูป เฟชบุ๊ค จึงทำให้กลุ่มผู้สูงอายุแสวงหาหนที่จะดูแลตนเองให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ยืนยาว และ ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงร่างกายจากสมุนไพรมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการ เจ็บป่วย พร้อมกับอวดอ้างเห็นผลเร็วเป็นตัวดึงดูดผู้บริโภค จึงทำให้ผู้สูงอายุหลงเชื่อคำโฆษณาชวน เชื่อ โดยไม่ได้วิเคราะห์ถึงผลดี ผลเสียของตัวผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงร่างกายจากสมุนไพรก่อน รวมถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้บริโภคในอนาคต ในขณะเดียวกัน ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรได้รับความสนใจ และเป็นที่นิยมอย่าง มาก มาจากเทรนด์สุขภาพ (Healthy Trend) ที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพกัน มากขึ้น ยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประชาชนยิ่ง มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ ต้องดูแลสุขภาพกันเป็นพิเศษมากกว่าปกติ จึงเป็นแรงสนับสนุนตลาดธุรกิจอาหารเสริมยิ่งโตมากขึ้น เพราะเชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายมากยิ่งขึ้น และในกลุ่มผู้สูงอายุมองว่า อาหาร เสริมบำรุงร่างกายจากสมุนไพร สามารถฟื้นฟูร่างกายและสมรรถนะได้ เห็นจากการโฆษณาใน โทรทัศน์ ที่มีความถี่สูงในทุกช่อง ทุกช่วงรายการ หรือแม้กระทั้ง มีการ Tie -in ในรายการ มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะโฆษณาผ่านศิลปิน ดารา ซุปตาร์ หรือ ศิลปิน ดาราที่ลงทุนเป็นเจ้าของแบรนด์อาหารเสริมจำนวนมาก จึงส่งผลให้มูลค่าตลาดอาหารเสริมบำรุง ร่างกายจากสมุนไพรมีการเติบโตอย่างมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรกับการตัดสินใจ ซื้อของผู้สูงอายุ โดยศึกษาถึงพฤติกกรมการใช้สื่อของผู้สูงอายุ ทัศนคติเกี่ยวกับกับผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมสมุนไพรกับการตัดสินใจซื้อของผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง (In-depth Interview) ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการรับข่าวสาร พูดคุยกันเพื่อน ครอบครัวมากขึ่้น ผู้สูงอายุมีทัศนคติเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพร เนื่องจากผู้สูงอายุต้องการมีสุขภาพ ร่างกายทีีแข็งแรง ยืนยาว แต่เมื่อเข้าสูงวัยผู้อายุ ร่างกายเเกิดความเสื่อม จึงให้ผู้สูงอายุแสวงหา ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เข้ามาบำรุงร่างกาย ประกอบกับในปัจจุบันสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริม สมุนไพรมีการโฆษณาที่การใช้คำพูด สรรพคุณเชิญชวน ใช้ศิลปิน ดาราที่มีชื่อเสียง เพื่อสร้างความ ดึงดูดจากกลุ่มผู้บริโภค แต่จากการศึกษางานวิจัยพบว่าการที่ผู้สูงอายุจะตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมสมุนไพร เกิดความน่าเชื่อของข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น. 2 ประเภท ประเภทแรกบุคคลอ้างอิง คือบุคคลในครอบครัว เพื่อน หรือบุคลลที่มีประสบการณ์ในการใช้ผลิตภัณฑ์มาบอกเล่าถึงข้อดี ข้อเสีย จะมีผลต่อการตัดใจสินใจซื้อของผู้สูงอายุมากที่สุด รองลงคือ ข้อมูลอ้างอิง คือข้อมูลที่ได้จากศึกษา หา ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ รวมถึงบทความ งานวิจัยที่น่าเชื่อถึอ จะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้สูงอายุ ด้วยเช่นกันen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการจัดการธุรกิจen_US
dc.subjectสื่อโฆษณาen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรen_US
dc.titleสื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรกับการตัดสินใจซื้อของผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeHerbal supplement advertisement and the elderly buying decisionen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.015 2565.pdf879.46 kBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.