Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4780
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorปิยภัสร ธาระวานิช-
dc.contributor.authorวัลลภา, ดีพันธุ์-
dc.date.accessioned2023-01-14T03:47:14Z-
dc.date.available2023-01-14T03:47:14Z-
dc.date.issued2022-06-29-
dc.identifier.otherTP FM.028 2565-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4780-
dc.description42 แผ่นen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเงินทุนส่วนหนี้สิน (leverage) และระดับความเร็วการปรับตัวเข้าสู่ โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึง 2563 จำนวน 150 บริษัท ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเงินทุน ได้แก่ ขนาดของบริษัท วัดโดยค่าลอการิทึมธรรมชาติของรายได้รวม, ความสามารถในการเติบโตของบริษัท วัดโดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดต่อมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้น, ความสามารถในการทำกำไร วัดโดยกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีและค่าเสื่อมต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ย, อัตราสภาพคล่องของบริษัท วัดโดยสินทรัพย์หมุนเวียนต่อหนี้สินหมุนเวียนและผลประโยชน์ทางภาษีที่ไม่ได้เกิดจากการก่อหนี้ วัดโดยค่ำเสื่อมราคาอสินทรัพย์ทั้งหมด โดยใช้ด้วยตัวแปรที่กำหนดข้างต้นมาทดสอบหาความสัมสัมพันธ์ด้วยเทคนิค Panel GMM เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับหนี้สิน (leverage) และระดับความเร็วในการปรับตัวเข้าสู่โครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย (Optimal Capital Structure) ผลการศึกษาพบว่า บริษัทที่มีขนาดใหญ่มีรายได้จากผลประกอบกำไรสูงมีความสามารถในการก่อหนี้ได้มากกว่าบริษัท ขนาดเล็ก เพราะเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายกว่า มักจะได้รับเงื่อนไขการกู้ยืมที่ดีกว่าบริษัทขนาดเล็ก หากบริษัทมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตสูง บริษัทจะมีความต้องการใช้เงินทุนที่สูงขึ้นจึงต้องหาเงินมาลงทุนจากแหล่งเงินทุนจากที่ต่างๆ มากขึ้นทำให้ระดับการก่อหนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในส่วนของความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท มีความสัมพันธ์ตรงข้ามกับระดับหนี้สิน กล่ำวคือถ้าบริษัทมีกำ ไรสูง และก็ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เช่นเดียวกันกับบริษัทที่มีสภาพคล่องสูง บริษัทจะพิจารณาแหล่งเงินทุนภายในก่อนหากไม่เพียงพอบริษัทจึงก่อหนี้จากแหล่งเงินทุนภายนอก บริษัทจะมีภาระทางดอกเบี้ยจ่ายต่อเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืม แต่บริษัทก็สามารถนำ ดอกเบี้ยจ่ายมาใช้คำนวณค่าใช้จ่ำยเพื่อสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีนิติบุคคล (Tax shield) ตามทฤษฎีการจัดหาเงินทุนตามลำดับขั้น (Pecking Order Theory) ผลการศึกษาระดับความเร็วในการปรับตัวเข้าสู่โครงสร้างเงินทุนเป้าหมาย (Optimal Capital Structure) มีค่าสัมประสิทธิ์ ที่ประเมินได้อยู่ที่ 0.673 สะท้อนว่าบริษัทที่จดทะเบียนในไทยมีระดับหนี้ในระดับที่เหมาะสม (Optimal Capital Structure) คือประโยชน์สุทธิจากการมีหนี้ (ผลดีจากการประหยัดภาษีลบด้วยผลเสียจากต้นทุนล้มละลายหรือต้นทุนความไม่มั่นคงทางการเงิน) อันจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของกิจการ (WACC) ต่ำที่สุด ด้วยอัตราความเร็วในการรปรับตัวสู่โครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมอยู่ที่ 32.7% ต่อปี งานวิจัย Andre Getzmann (2012) บริษัทในเอเชียมีการปรับตัวด้วยความเร็วที่ 45% ต่อปี แสดงว่าบริษัทไทยมีการปรับโครงสร้างเงินทุนช้ากว่าบริษัทอื่นๆในเอเชียen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการเงินen_US
dc.subjectโครงสร้างเงินทุนen_US
dc.subjectแบบจำลองแบบเชิงพลวัตen_US
dc.subjectบริษัทที่จดทะเบียนในไทยen_US
dc.titleปัจจัยที่กำหนดโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย โดยวิธี Panel GMM Arellano-Bond of the dynamic panel data modelen_US
dc.title.alternativeDeterminants of Optimal Capital Structure of Thai Listed Companiesen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP FM.028 2565.pdf1.65 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.