Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4853
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ตรียุทธ พรหมศิริ | - |
dc.contributor.author | ศรัณญา, ประธาน | - |
dc.date.accessioned | 2023-02-03T07:31:26Z | - |
dc.date.available | 2023-02-03T07:31:26Z | - |
dc.date.issued | 2022-10-17 | - |
dc.identifier.other | TP EM.042 2565 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4853 | - |
dc.description | 139 แผ่น | en_US |
dc.description.abstract | หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าในอนาคตข้างหน้าไม่ไกลนี้ ด้วยทรัพยากรบนโลกที่มีจำนวนจำกัด แต่จำนวนประชากรบนโลกที่กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ที่มีการคาดการณ์ไว้ถึง 8.5 พันล้านคนภายในปี ค.ศ.2030 และคาดว่าจะเติบโตเป็น 9.7 พันล้านคนภายในปี ค.ศ.2050 นั้น จะส่งผลกระทบกับจำนวนการบริโภค ทั้งวิกฤตด้านอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตการอยู่อาศัยของผู้คน โดยเฉพาะการขยายตัวของเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังรายงานจากองค์กร OECD (Organisation for Economic Cooperation and Development) ที่ประมาณการว่า 70% ของประชากรบนโลกในปี ค.ศ. 2050 จะอาศัยอยู่ในเมือง ซึ่ง 90% ของการขยายตัวนี้จะเกิดขึ้นในโซนเอเชียและแอฟฟริกา ดังนั้น ด้วยพื้นที่ดินที่ใช้ปลูกสร้างมีจำนวนจำกัด จึงไม่น่าแปลกใจที่ลักษณะของเมืองในปัจจุบันต้องค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจากที่เคยอยู่อาศัยในแนวราบมีเนื้อที่มีบริเวณกว้างกลายเป็นซ้อนชั้นขึ้นไปเพื่อเพิ่มความหนาแน่นและความคุ้มค่าเรื่องผลตอบแทนของการลงทุน ที่อยู่อาศัยค่อยๆกระชับ เล็กลง จนมี พื้นที่เหลือเพียงคนละไม่กี่ตารางเมตร การจัดการและออกแบบลักษณะของที่อยู่อาศัยนั้นมีส่วนสำคัญที่สามารถส่งผลกระทบต่อความสุข สภาพจิตใจและสภาพร่างกายของคนได้อีกด้วย สำหรับในกรุงเทพมหานคร หลายๆคนเลือกที่จะอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมไม่ไกลจากที่ทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจร และการเข้าถึงแหล่งสิ่งอำนวยความสะดวกที่ง่ายกว่า แต่ด้วยขนาดพื้นที่ที่จำกัดบางครั้งก็ไม่สามารถตอบโจทย์กับกิจกรรมบางอย่างได้ครบ บางส่วนเลือกที่จะย้ายออกไปอาศัยอยู่บ้านเดี่ยวชานเมือง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการเดินทาง และค่าใช้จ่ายในการดูแลที่พักอาศัยที่สูงขึ้น อยู่ไกลจากสังคมเพื่อนร่วมงาน หรือหากคิดจะทำธุรกิจหรือต้องการสร้างคอน เนคชั่น ก็ไม่สามารถทำได้โดยสะดวกนัก จากการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ และการเห็นช่องว่างตรงกลางระหว่างลักษณะที่อยู่อาศัยสองแบบนี้เอง ผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาเป็นแผนธุรกิจ ที่นำเอาจุดเด่นของหลัก Sharing Economy มาประยุกต์ใช้เป็นโครงการ Co-living space ขึ้นมา โดยจับกลุ่มศิลปินอิสระ ที่เป็นกลุ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ (Creative economy) ที่การเติบโตในกลุ่มนี้สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและ GDP ของประเทศได้อย่างมี นัยสำคัญ ซึ่งกลุ่มนี้ค่อนข้างต้องการพื้นที่เฉพาะสำหรับสร้างสรรค์ผลงานอันเป็นจุดแตกต่างที่ธุรกิจนี้สามารถมอบให้ได้ การอยู่อาศัยแบบ Co-living space นอกจากจะตอบโจทย์ในเรื่องของการแบ่งปันทรัพยากรที่มีจำกัดได้แล้ว ยังสามารถมอบคุณค่าทางสภาพจิตใจ เศรษฐกิจ และสังคมได้อีกหลายๆด้าน แนวความคิดของผังโครงการ Soul Space โดยรวม เป็นโครงการ Mixed-use แนวราบที่รวมเอา Co-living Space และส่วนพื้นที่พาณิชยกรรมเข้าไว้ด้วยกัน บนเนื้อที่ 3-2-55 ไร่ บนถนนสวนผักเขตตลิ่งชัน ด้วยการเลือกพื้นที่บริเวณริมคลองกว้าง 30 เมตร ไร้การบดบังวิวและลมของอาคารสูง บรรยากาศโปร่งโล่ง แต่ยังอยู่ใกล้กับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าและถนนสายหลักราชพฤกษ์ ซึ่งการรวมรูปแบบที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน และร้านค้าในลักษณะนี้จะช่วยดึงจุดเด่นของทั้งสองลักษณะการใช้ สอยให้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยมุ่งโฟกัสไปที่กลุ่มลูกค้าประเภทศิลปินอิสระ การอยู่อาศัยของศิลปินที่คอยสร้างผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ การจัดกิจกรรมเวิร์คชอป การจัดแสดงผลงาน พร้อมมีร้านค้าร้านอาหารร้านกาแฟคอยบริการผู้อยู่อาศัยให้ได้มีแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลงาน จะช่วยเป็นจุดดึงดูดและบริการคนที่เดินทางมาดูงานศิลปะ หรือผู้คนรอบๆมายังบริเวณนี้ได้ในทุกๆวันอีกด้วย จะเห็นได้จากกระแสการจัดงานนิทรรศการศิลปะต่างๆที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Bangkok Design Week, Awakening Bangkok, Bangkok Biennale, Bangkok NFT Art Festival ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่โครงการ Soul Space นา เสนอแบ่งเป็นส่วนพักอาศัยให้เช่า 3 ขนาด จำนวน รวม 30 ยูนิต พื้นที่พาณิชยกรรมให้เช่า 28 ยูนิต พื้นที่อเนกประสงค์ให้เช่า 2 ยูนิต พื้นที่ทำงานศิลปะให้เช่า (Art studio) 40 ยูนิต และสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมบริการเสริมภายในโครงการ ได้แก่บริการเช่าเตาอบเซรามิก บริการทา ความสะอาด บริการซักรีด นวดผ่อนคลาย พื้นที่ Co-workingspace, พื้นที่แกลอรี่ศิลปะไว้ให้ผู้เข้าพักได้จัดแสดงผลงาน พื้นที่ครัว และพื้นที่สวนที่เน้นการออกแบบที่แทรกพื้นที่สีเขียวเข้าไปใกล้ชิดผู้อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุด Soul Space วางกลยุทธ์ Positioning ให้แตกต่างจากคู่แข่งอื่นในตลาด ด้วยการเป็นที่พักอาศัยให้เช่าประเภท Co-living space ที่มอบโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน พร้อมทั้งได้ทำงานที่รักและสามารถเสนอผลงานให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปได้ง่ายขึ้นกว่าที่ที่พักอาศัยในรูปแบบคอนโดและบ้านเดี่ยวในปัจจุบันไม่สามารถมอบให้ได้ ใช้กลยุทธ์การตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าผ่านช่องทาง Social Media, influencer ศิลปินที่มีชื่อเสียง และร่วมกับ CEA (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์) ในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่จัดงานนิทรรศการศิลปะต่างๆของประเทศ ด้วยประมาณการเงินลงทุนเริ่มต้นในโครงการนี้ 106.54 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 97.65 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียน 8.89 ล้านบาท แหล่งเงินทุนมาจากส่วนของเจ้าของ40 ล้านบาท เงินกู้ 66.54 ล้านบาท ประมาณการรายได้ในปีแรก อยู่ที่ 24.95 ล้านบาท คงเหลือเป็นกำไรสุทธิยังไม่หักดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารที่ 10.89 ล้านบาท หรือคิดเป็น 43.65% จากยอดรายได้รวม อายุโครงการ 30 ปี โดยในปี ที่ 30 คาดว่าจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 35.58 ล้านบาท คงเหลือเป็นกำไรสุทธิ ยังไม่หักดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารที่ 14.43 ล้านบาท มียอดกระแสเงินสดสะสมที่ 24.15 ล้านบาท ประมาณการค่าผลตอบแทนจากการลงทุน NPV เท่ากับ 54,572,412.34 บาท ประมาณการค่า Internal Rate of Return (IRR) เท่ากับ 14.0% และมีระยะเวลาการคืนทุนภายใน 9 ปี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | en_US |
dc.subject | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม | en_US |
dc.subject | แผนธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย | en_US |
dc.subject | Co-Living Space | en_US |
dc.subject | Soul Space | en_US |
dc.title | แผนธุรกิจที่อยู่อาศัยให้เช่าแบบแบ่งปันพื้นที่ร่วมกันสำหรับกลุ่มศิลปินอิสระ Soul Space : Creative Co-Living Space | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.042 2565.pdf | 6.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.