Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5107
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorบุริม โอทกานนท์-
dc.contributor.authorธภัทร บุญสถิตย์ถาวร-
dc.date.accessioned2023-07-29T04:44:03Z-
dc.date.available2023-07-29T04:44:03Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.otherTP HOM.014 2566-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5107-
dc.description37 แผ่นen_US
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยให้การยอมรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศกันมากขึ้นหรือกลุ่มคนเหล่านี้ถูกเรียกว่ากลุ่ม LGBTQ+ ในช่วงหลายปี ที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงปี 2565 ได้มีการรณรงค์อย่างมากในเรื่องของการให้การยอมรับในเรื่องของ ความหลากหลายทางเพศ โดยไม่เลือกปฎิบัติต่อกลุ่ม LGBTQ+ สร้างความเท่าเทียมกันในสังคมที่ทำงาน งานวิจัยนี้ต้องการแสดงถึง อุปสรรคต่างๆ ที่กลุ่ม LGBTQ+ ต้องเผชิญในที่ทำงาน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่มาอ่านงานวิจัยนี้เข้าใจถึงอุปสรรคและปัญหาของสังคมใน ปัจจุบัน รวมถึงปัญหาภายในองค์กรที่มีอคติต่อกลุ่ม LGBTQ+ และต้องการส่งเสริมกลุ่ม LGBTQ+ ให้มีพื้นที่ในสังคมการทำงานรวมถึงมี ความเท่าเทียมเหมือนเพศชายหญิงปกติทั่วไป ผลการวิจัยพบว่าอุปสรรคที่กลุ่ม LGBTQ+ ต้องเผชิญในที่ทำงานมีอยู่ท้ังหมดสี่อุปสรรค โดยอุปสรรคแรกเป็นอุปสรรค ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่เริ่มการทำงาน นั่นคือการเข้าถึงการจ้างงาน โดยเริ่มแรก กลุ่ม LGBTQ+ มักจะถูกเลือกปฎิบัติ โดยเฉพาะในกลุ่มคน ข้ามเพศมักจะถูกมองเป็นตัวประหลาดและถูกมองว่าไม่ควรมาทำงานในกระแสหลัก อุปสรรคที่สองคือ การได้รับการยอมรับจากคนใน สังคมที่ทำงาน กลุ่ม LGBTQ+ มักจะถูกนินทาเสียดสีล้อเลียน ด้วยคำพูดเชิงดูถูก ทำให้รู้สึกแย่และถูกกดดัน นอกจากน้ีการได้รับการ ยอมรับในที่ทำงานยังถูกแบ่งออกเป็นสี่ประเภทอีกด้วย อุปสรรคที่สามคือ โอกาสและความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน กลุ่ม LGBTQ+ มัก ไม่ได้รับการฝึกอบรมตามตำแหน่งงานหรือไม่ได้รับการเลื่อนข้ันด้วยเหตุผลที่ว่าหากไปรับตำแหน่งที่สูงกว่าด้วยภาพลักษณ์แห่งการเป็ น LGBTQ+ จะไม่เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะขึ้นไปเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานข้าราชการจะยิ่งมีอคติกับกลุ่ม LGBTQ+ มากที่สุด อุปสรรคสุดท้ายคือ สวัสดิการจากการจ้างงาน กลุ่ม LGBTQ+ ให้ความสำคัญกับตัวเงินเป็นหลักมากกว่าที่จะให้ ความสำคัญกับสวัสดิการเพราะตนเองมองว่าไม่ได้รับประโยชน์จากสวัสดิการเท่ากับกลุ่มชายหญิงปกติทั่วไปมากนัก ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรท้ังทางภาครัฐและภาคเอกชนได้ เพื่อให้สังคมในที่ทำงานมีความเท่าเทียม กันมากขึ้น และสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน รวมถึงการให้คุณค่ากับกลุ่ม LGBTQ+ ในที่ทำงาน ส่งเสริมให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการทำงานและใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติและไม่มีการแบ่งแยกทางเพศในที่ทำงานen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectทุนมนุษย์และการจัดการองค์กรen_US
dc.subjectLGBTQ+en_US
dc.subjectความหลากหลายทางเพศen_US
dc.subjectการทำงานen_US
dc.titleความท้าทายของกลุ่ม LGBTQ+ ที่ต้องเผชิญในที่ทำงานen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP HOM.014 2566.pdf1.05 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.