Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5121
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วสุนันท์ ภูศรี | - |
dc.date.accessioned | 2023-08-02T09:56:51Z | - |
dc.date.available | 2023-08-02T09:56:51Z | - |
dc.date.issued | 2566 | - |
dc.identifier.issn | TP EM.016 2566 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5121 | - |
dc.description.abstract | ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผู้บริโภคมีความตระหนักถึงเรื่องการดูแลสุขภาพ และหันมาดูแลสุขภาพร่างกายของเองมากขึ้น ด้วยการออกกำลังกายและเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ รู้จักใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีมากกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะกลุ่มคนเมือง ที่มักจะสั่งอาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรี่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาทิ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ต่างๆ รวมไปถึงอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานและเครื่องดื่มด้วย สำหรับธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านอาหาร ที่เดิมใช้ช่องทางออนไลน์เป็นเพียงช่องทางส่งเสริมทางการตลาด ก็ต้องมีการปรับช่องทางการให้บริการมาเป็นรูปแบบออนไลน์มากขึ้น โดยในปัจจุบันมักจะพบเห็นว่า มีการสร้างกลุ่มคอมมูนิตี้เพื่อเป็นช่องทางใหม่ๆในการจำหน่ายสินค้า อาทิเช่น เฟสบุ๊คกรุ๊ป ไลน์กรุ๊ป เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่มีความถนัดในการใช้เทคโนโลยี ต้องการความสะดวกสบายในการเลือกซื้ออาหารได้หลากหลาย และบริการจัดส่งที่รวดเร็วตอบโจทย์ ให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อกล่าวถึงอุตสาหกรรมจำหน่ายผลไม้นำเข้าในประเทศไทย ถือเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่น่าสนใจเพราะมีมูลค่าการตลาดและอัตราการเติบโตที่สูง อันเนื่องมาจากผู้บริโภคให้ความสนใจ มีความต้องการมากขึ้นกว่าในอดีต ประกอบกับราคาจำหน่ายที่ถูกลง ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงผลไม้นำเข้าได้มากขึ้น จากการสำรวจและจากประสบการณ์การจำหน่ายผลไม้นำเข้าที่ผ่านมา ทำให้เห็นว่าธุรกิจนี้ยังมีช่องว่าง คือ ความสะดวกสบายในการหาซื้อมีน้อย มีราคาที่ค่อนข้างแพง และมีค่าจัดส่งที่สูงจนเกินไปเนื่องจากต้องจัดส่งแบบควบคุมอุณหภูมิ ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อผลไม้นำเข้าจากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาเก็ต และสั่งซื้อจากช่องทางออนไลน์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงและต้องเสียค่าจัดส่ง ทำให้เห็นโอกาสในการสร้างธุรกิจ และพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ กลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของ Fruitcery คือ การสร้างความแตกต่าง ใน 2 ด้าน ประการแรก คือ ด้านความสะดวกสบาย โดยเพิ่มความสะดวกสบายในการหาซื้อ การเข้าถึง และการจัดส่ง และประการที่ 2 คือ ด้านราคา โดยจะจำหน่ายผลไม้นำเข้าแบบปลีกในระดับราคาต่ำกว่าห้างสรรพสินค้า ให้บริการจัดส่งฟรี คุ้มค่าต่อความสะดวกสบายที่ได้รับ ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด นอกจากนี้ยังเน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มคอมมูนิตี้ เช่น คอนโดมิเนียม ออฟฟิศ สานักงาน โรงพยาบาล เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of scales) และเป็นประโยชน์ต่อการบริหารธุรกิจด้วย ด้านการตลาดและแผนการเงิน Fruitcery จะมีช่องทางการจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อดูแลลูกค้าให้ครอบคลุม โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุน 2 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยใน 5 ปีแรก คาดว่าจะมี NPV อยู่ที่ 5.9 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) 93.78% และคืนทุนในระยะเวลา 1.86 ปี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | Mahidol University | en_US |
dc.subject | แผนธุรกิจ | en_US |
dc.subject | ผลไม้นำเข้า | en_US |
dc.subject | ออนไลน์ | en_US |
dc.subject | ออฟไลน์ | en_US |
dc.subject | กลุ่มคอมมูนิตี้ | en_US |
dc.title | แผนธุรกิจ ธุรกิจจำหน่ายผลไม้นำเข้า Fruitcery | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
local.contributor.advisor | ตรียุทธ พรหมศิริ | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.016 2566.pdf | 5.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.