Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5264
Title: ปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้งานแอปพลิเคชันของโรงพยาบาลภาครัฐที่เป็นโรงเรียนแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร
Authors: สิริรัตน์ พันธ์หนู
Keywords: การตลาด
แอปพลิเคชัน
โรงพยาบาลรัฐ
ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Abstract: การเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงท้ังโครงสร้าง ในทุกภาคส่วน และยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซ่ึงระบบบริการสุขภาพมีการน าเทคโนโลยีดิจิทัลและ นวัตกรรมสุขภาพมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับประชาชน ในการได้รับบริการทางการแพทย์ และสุขภาพที่ทันสมัย ทั่วถึง และเท่าเทียม รวมถึงรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่ผ่านมาส่งผลให้วิธีการดำเนินงานด้านระบบสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็น จุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงด้วยการนำเครื่องมือทางด้านดิจิทัลเข้ามาใช้แบบก้าวกระโดด กระทรวงสาธารณสุขได้ พัฒนาระบบโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มคุณภาพการบริการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา และ การเข้าถึงข้อมูลผู้รับการรักษา ทั้งในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล เพิ่มระบบบริการประชาชน ทั้งด้านความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัย นอกจากนี้ยังนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Health) มาช่วยเพิ่มคุณภาพการรักษา เช่น การจัดคิว การจัดยา การส่งต่อผู้ป่วยไปต่างโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยการักษา ลดความแออัด ลดการรอคอย และพัฒนาแผนพัฒนาดิจิทัล เช่น การทำโมบายแอปพลิเคชันของโรงพยาบาล และสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังน้ัน การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาปัจจัยในการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อความต้ังใจการใช้งานแอปพลิเคชัน (Mobile Application) ของโรงพยาบาลรัฐที่เป็นโรงเรียนแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model) มาใช้อธิบาย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการให้บริการและการพัฒนาแอปพลิเคชันต่อไป
Description: 122 แผ่น
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5264
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.035 2566.pdf2.4 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.