Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorวินัย วงศ์สุรวัฒน์-
dc.contributor.authorปิณฑิรา พรหมรักษ์-
dc.date.accessioned2024-12-07T06:22:20Z-
dc.date.available2024-12-07T06:22:20Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.otherTP MM.020 2567-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5569-
dc.description43 แผ่นen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติการใช้มือทานอาหารพื้นเมืองภาคเหนือของลูกค้าท้ังฝั่งลูกค้าที่มีภูมิลำเนาอยู่ ในภาคเหนือมาตั้งแต่กำเนิดและลูกค้าที่เป็นคนภูมิภาคอื่นๆ เพราะการที่จะเข้าใจว่าอาหารเหนือส่วนใหญ่แล้วทานด้วยมือเป็นหลักนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา นอกจากนี้ยังศึกษาเรื่องงานบริการของร้านค้าว่าส่งผลต่อการให้ความร่วมมือในการใช้มือทานอาหารกับลูกค้า อย่างไรบ้าง เพราะหากทราบข้อมูลดังกล่าว ทางร้านค้าสามารถจัดทำแคมเปญหรือทำการตลาดเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการลูกค้า อีกท้ังยังสามารถหาลู่ทางแตกไลน์ธุรกิจอาหารทางเลือกใหม่ ไม่ใช่แค่มาทานที่ร้านอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถสร้างธุรกิจการเชิง ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงวัฒนธรรมการทานอาหารด้วยมือ รับรู้รสชาติที่อร่อยอย่างแท้จริง และเพื่อศึกษาการโปรโมทของร้านค้าเพื่อเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมการทานด้วยมืออย่างไรบ้าง เนื่องจากกระแสการทานอาหารในยุคนี้ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการถ่ายรูป ลงคอนเท้นในโซเซียล ดังนั้นผู้วิจัยจึงมุ่งมั่นศึกษาถึงประสบการณ์ทางการตลาดของร้านค้าในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะประสบ ความสำเร็จหรือไม่ การที่ทราบข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลทางการตลาดในอนาคตได้ งานวิจัยฉบับนี้จึงเลือกเก็บข้อมูลแบบ qualitative research คือใช้วิธีสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลเป็นเชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างจะมี 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า ซึ่งจะเลือกเป็นผู้ประกอบการที่มีภูมิลำเนาเป็นคนพื้นเมือง อาศัยอยู่ใน 8จังหวัดภาคเหนือตอนบน เพราะจะมีความรู้ซึ้งถึงวัฒนธรรมการกิน และรายละเอียดอาหารพื้นเมืองเชิงลึก โดยจะต้องเป็นร้านค้าที่มุ่งหวังให้ลูกค้าทานอาหารด้วยมือ เช่นกัน อีกส่วนหนึ่งคือ ลูกค้าที่ชื่นชอบการทานอาหารพื้นเมืองโดยเฉพาะ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าถึงแม้คนส่วนใหญ่ว่าจะรู้สึกเขินเมื่อต้องทานอาหารนอกบ้านโดยใช้มือทาน แต่ถ้าทางร้านมี การโปรโมทอย่างเต็มที่ รวมไปถึงแจ้งถึงว่าทานด้วยมือแล้วจะได้อะไร สัมผัสถึงรสชาติอาหาร วัฒนธรรมมากแค่ไหน รวมไปถึงพนักงาน ได้ให้บริการในเรื่องของหารดูแคความสะอาดได้อย่างเต็มที่มีที่ล้างมือใกล้ๆหรือ ถ้วยล้างมือผสมสมุนไพรดับกลิ่นให้ล้างมืออยู่บนโต๊ะ ความสะดวกสบายเหล่านี้ทำให้ลูกค้าเปิดใจยอมรับการทานอาหารด้วยมือได้อย่างเต็มที่en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยมหิดลen_US
dc.subjectการตลาดen_US
dc.subjectอาหารพื้นเมืองen_US
dc.subjectการทานอาหารด้วยมือen_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectงานบริการen_US
dc.subjectการโปรโมทen_US
dc.titleวัฒธรรมการทานข้าวด้วยมือของอาหารไทยพื้นเมืองเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารต่างชาติบนพื้นฐานบนมารยาททางสังคมen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.020 2567.pdf1.19 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.