Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5727
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
eperson.contributor.advisorวินัย วงศ์สุรวัฒน์-
dc.contributor.authorโยษิตา จำปาเฟื่อง-
dc.date.accessioned2025-03-06T05:13:34Z-
dc.date.available2025-03-06T05:13:34Z-
dc.date.issued2567-
dc.identifier.otherTP MM.037 2567-
dc.identifier.urihttps://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/5727-
dc.description68 แผ่นen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนักเปลือยกาย (Naturist) ในการเลือกใช้บริการรีสอร์ทเปลือยกาย (Naturist Resort) ในประเทศไทย โดยการศึกษานี้เป็นการทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ในการเก็บและรวบรวมข้อมูล การเข้าสังเกตการณ์ที่รีสอร์ทเปลือยกายและการ เก็บข้อมูลจากช่องทางโซเชียลมีเดีย จำนวน 20 โพสต์ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง จ านวนท้ังสิ้น 30 คน สามารถ แบ่งได้เป็ น 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มสมาชิกสมาคมเนอเชอรีสต์ในประเทศไทย (Naturist Association Thailand - NAT) กลุ่มนักเปลือยกาย (Naturist) และกลุ่มรีสอร์ทเปลือยกาย (Naturist Resort) เพื่อทำความเข้าใจทัศนคติและความต้องการของนักเปลือยกายในบริบทวัฒนธรรมไทย จากการศึกษาพบถึงแนวคิดที่น่าสนใจของกลุ่มนักเปลือยกายที่มีความแตกต่างออกไปจากค่านิยมในสังคมไทย ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในบริบทของวัฒนธรรมไทย การเปลือยกายมักถูกมองว่าขัดแย้งกับค่านิยมดั้งเดิมและบรรทัดฐานทางสังคม อย่างไรก็ตาม นักเปลือยกาย (Naturist) ในประเทศไทยกลับมองการเปลือยกายว่าเป็นวิถีชีวิตที่มอบความเป็นอิสระ การยอมรับตัวเอง และความสัมพันธ์ที่แท้จริง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีลำดับข้ันความต้องการของ Maslow (Maslow's Hierarchy of Needs) โดยมีแนวคิดหลัก 3 ประการที่สรุปได้จากการวิจัย ได้แก่ ความต้องการเข้าถึงสังคมที่ปราศจากการตัดสิน ความต้องการพื้นที่ที่เสริมสร้างความมั่นใจ และความต้องการประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ในขณะที่รีสอร์ทเปลือยกาย (Naturist Resort) ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่พักผ่อน แต่ยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่ช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ความมั่นใจในตัวเอง และความภาคภูมิใจในตนเองของนักเปลือยกาย การใช้ส่วนผสมทางการตลาด 7Ps Service Marketing Mix ช่วยตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรีสอร์ทให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศที่ปราศจากการตัดสิน การให้บริการที่เอื้อประโยชน์และความสะดวกสบาย อีกทั้งยังมอบประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาใช้บริการซ้ำ ข้อจำกัดในการวิจัยคือ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่จำกัดและการใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมพฤติกรรม และความต้องการที่หลากหลายของนักเปลือยกาย ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในอนาคต คือควรขยายขนาดกลุ่มตัวอย่างและใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อเพิ่มความแม่นยำของข้อมูล รวมทั้งศึกษาผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อการยอมรับและความรู้สึกของนักเปลือยกายในประเทศไทยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherTP MM.037 2567en_US
dc.subjectการตลาดen_US
dc.subjectนักเปลือยกายen_US
dc.subjectรีสอร์ทเปลือยกายen_US
dc.titleกลยุทธ์การตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มนักเปลือยกาย (Naturist) ในการเลือกใช้บริการรีสอร์ทเปลือยกาย (Naturist Resort) ในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeMarketing strategies and consumer behavior of naturists in choosing naturist resorts in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MM.037 2567.pdf1.98 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.