Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1122
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ธนพล วีราสา | - |
dc.contributor.author | สุนันทา ศุภดิลกกุล | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T08:32:10Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T08:32:10Z | - |
dc.date.issued | 2015-04-30 | - |
dc.identifier | TP EM.015 2558 | - |
dc.identifier.citation | 2558 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1122 | - |
dc.description.abstract | บริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์ จำกัด (Rubber Farm Manager Co., Ltd.) เป็นบริษัทผู้ให้บริการปลูกและดูแลสวนยางพาราในระยะเริ่มปลูกจนถึงระยะพร้อมกรีดแบบครบวงจร ให้แก่เจ้าของสวนยางที่ต้องการประสบความสำเร็จในการปลูกสวนยางพารา ด้วยสโลแกนที่สร้างความเชื่อมั่นให้เจ้าของสวนยางพาราได้ว่า “ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม รอรับผลผลิตตอบแทนระยะยาว” รับประกันด้วยประสบการณ์การทำสวนยางที่บริษัทมีมากว่า 30 ปี โดยที่บริษัทฯมีพื้นที่สวนยางพาราอยู่ในจังหวัดตรังในพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ ดำเนินงานโดยทีมงานที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการปลูกยางพารา รวมทั้งแรงงานที่มีทักษะเป็นอย่างดี พร้อมทั้งการวิจัยและศึกษาข้อมูลในการปลูกยางพาราที่มีประสิทธิภาพ และ การเลือกใช้พันธุ์กล้ายางที่ให้ผลผลิตสูงเป็นระยะเวลา 20 - 30 ปี ส่งผลให้เจ้าของสวนยางพาราเชื่อมั่นได้ว่า การเลือกใช้บริการจากบริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์วันนี้ จะได้สวนยางที่มีประสิทธิภาพ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้ในอนาคต จากประสบการณ์ที่อยู่ในวงการสวนยางพารามากว่า 30 ปี พบว่าเจ้าของสวนยางพาราที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 20 - 300 ไร่ ประสบปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยบริษัทจึงได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เจ้าของสวนยางพาราที่ต้องการปลูกยางใหม่ในพื้นที่ปลูกยางพาราเดิมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 20 -300 ไร่ ซึ่งเป็นผู้ที่ขออนุมัติเงินทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในการดูแลและพัฒนาด้านการปลูกยางพารา ที่เรียกว่า เงินทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยบริษัทฯได้มีการสำรวจปัญหาและความต้องการจากเจ้าของสวนยางและจากข้อมูลการวิเคราะห์โดย สกย. สรุปได้ว่า ปัญหาการขาดแคลนแรงงานส่งผลกระทบอย่างยิ่งในขั้นตอนกระบวนการปลูกยางพาราและการดูแลจนกว่ายางพาราจะให้ผลผลิตได้ เพราะการขาดแคลนแรงงานทำให้เกิดปัญหาให้การปลูกยางพาราขาดประสิทธิภาพ ทำให้ผลผลิตที่ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งยังทำให้เจ้าของสวนยางต้องเสียเงินทุนจำนวนมากไปกับการจ้างงานในส่วนต่างๆ จากการสำรวจการจ้างงานในตลาดพบว่า ปัจจุบันเจ้าของสวนยางต้องใช้เงินทุนในการจ้างผู้รับเหมารายย่อยเพื่อการดำเนินงานปลูกและดูแลสวนยางพาราตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงพร้อมกรีดด้วยต้นทุนสูงกว่า 20,000 บาทต่อไร่ ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าเงินอุดหนุนที่ชาวสวนยางได้จาก สกย. ที่ 16,000 บาทต่อไร่ โดยที่เจ้าของสวนยางต้องรับผิดชอบส่วนต่างดังกล่าวเอง ทำให้ไม่มีเงินทุนเพียงพอเพื่อเลือกซื้อกล้ายางพันธุ์ดีที่สามารถให้ผลผลิตในปริมาณที่มากและคุ้มค่าต่อการลงทุนได้ และเนื่องจากราคายางที่ผันผวนยิ่งส่งผลให้เจ้าของสวนยางมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนมากยิ่งขึ้น บทสรุปผู้บริหาร (ต่อ) จากปัญหาดังกล่าว บริษัท รับเบอร์ฟาร์มเมเนเจอร์ จำกัด ได้นำประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการปลูกและดูแลสวนยาง ด้วยคนงานที่มีความชำนาญมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี มาใช้ในการให้บริการปลูกและดูแลสวนอย่างพาราอย่างครบวงจรตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกจนถึงพร้อมกรีด ช่วยให้เจ้าของสวนยางสามารถควบคุมต้นทุนให้อยู่ในงบประมาณที่ สกย. จ่ายให้ 16,000 บาทต่อไร่ และได้ผลผลิตที่สูง จากการเลือกใช้พันธุ์ยางที่ดีและเหมาะสม ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 500 กก.ต่อไร่ต่อปี บริษัทฯกำหนดกลุ่มเป้าหมายหลักดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ เจ้าของพื้นที่ที่ทำการขออนุมัติเงินสงเคราะห์จาก สกย. โดยจากการสำรวจและคาดการณ์ของ สกย. กำหนดเป้าหมายการขอเงินทุนสงเคราะห์ที่ 400,000 ไร่ต่อปี หากพบว่าด้วยปัญหาด้านการปลูกยางพาราข้างต้น ทำให้ในแต่ละปีมีการอนุมัติเงินทุนเพียงปีละประมาณ 200,000 ไร่เท่านั้น บริษัทฯจึงมองเห็นโอกาสและช่องว่างทางการตลาดจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยเมื่อกำหนดแผนงานและคำนวณกำลังการผลิตนั้น บริษัทฯคาดการณ์ว่าภายใน 5 ปี จะมีความสามารถในการให้บริการอยู่ที่ปีละ 7,284 ไร่ ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 1.82 ของการคาดการณ์พื้นที่อนุมติเงินสงเคราะห์จาก สกย. บริษัทฯวางแผนการเข้าสู่ตลาดโดยกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริการแก่กลุ่มลูกค้า ด้วยแผนดำเนินงานที่เริ่มต้นจากการสำรวจและคัดกรองลูกค้าเป้าหมายจากรายชื่อผู้ขออนุมัติเงินทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง แล้วจึงดำเนินงานในด้านการสื่อสารการตลาดโดยตรงดังที่กล่าวมา นอกจากนี้บริษัทฯยังได้ปรับใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆเพื่อให้บริษัทฯเป็นที่รู้จักและสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่กลุ่มลูกค้ามากขึ้น โดยการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านนิตยสาร รายการโทรทัศน์ และสื่อที่ให้ข้อมูลข่าวสารด้านเกษตรกรรม และบริษัทฯยังให้ความสำคัญกับช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า โดยมุ่งเน้นที่การจัดตั้งบริษัทฯ และการขยายสาขาไปยังพื้นที่สำคัญ โดยในปีแรกบริษัทจัดตั้งในพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้แก่บริษัทฯ และจัดตั้งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคใต้ และยังได้วางแผนดำเนินงานขยายสาขาสู่จังหวัดจันทบุรีในปีที่ 2 และขยายไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ปลูกยางพารา โดยจัดตั้งบริษัทฯขึ้นในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เพื่อให้บริษัทฯเป็นที่รู้จัก และสามารถขยายการบริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม | - |
dc.subject | ยางพารา | - |
dc.subject | Rubber farm manager | - |
dc.subject | การเข้าสู่ตลาด | - |
dc.subject | การปลูก | - |
dc.title | การศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจบริการปลูกและดูแลสวนยางพาราในระยะปลูกจนถึงพร้อมกรีดแบบครบวงจร "Rubber farm manager" | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.015 2558.pdf | 15.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.