Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1324
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเข้าสู่ตลาดและการเงินของธุรกิจจำหน่ายรองเท้าสาวประเภทสอง ภายใต้แบรนด์ Preen
Authors: จิราภา ชนะพันธ์
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
ธุรกิจรองเท้า
ตลาดการเงิน
สาวประเภทสอง
Preen
Issue Date: 26-Aug-2015
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2558
Abstract: จากการพูดคุยและการสังเกตบุคคลใกล้ตัวที่เป็นสาวประเภทสองพบว่าเครื่องแต่งกายส่วนใหญ่สามารถหาซื้อแบบเดียวกับผู้หญิงได้และมีจำหน่ายทั่วไป แต่พบว่ามีปัญหาในการเลือกซื้อรองเท้าเนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถผ่าตัดศัลยกรรมให้มีขนาดเล็กลงได้ และร้านค้าในปัจจุบันไม่มีขนาดรองเท้ารองรับเท้าของสาวประเภทสองที่มีสรีระแบบผู้ชายแต่ต้องการรูปแบบรองเท้าแบบผู้หญิง ทางบริษัทฯจึงเล็งเห็นโอกาสและเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจรองเท้าสาหรับสาวประเภทสองภายใต้แบรนด์ PREEN โดยจากการสารวจกลุ่มตัวอย่างสาวประเภทสองจานวน 30 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจา นวน 18 คน พบว่าร้อยละ 73.3 ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเลือกซื้อรองเท้า และจากการสารวจเชิงลึกจำนวนประชากรของสาวประเภทสองโดยอ้างอิงข้อมูลจากตลาดศัลยกรรมแปลงเพศและหน้าอก และจำนวนผู้ที่ไม่ได้การยกเว้นจากการเกณฑ์ทหารเนื่องจากเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด พบว่าเป็นกลุ่มตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเพียงพอที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ บริษัทฯจึงมีความมั่นใจว่าสินค้าและบริการของรองเท้าสาวประเภทสอง PREEN จะมาช่วย เติมเต็มความต้องการของสาวประเภทสองได้ โดยสินค้าของ PREEN ผ่านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทีมงานมืออาชีพ โดยเน้นในเรื่องของการสวมใส่ที่สบายและการออกแบบที่เหมาะสมกับสรีระของเท้าสาวประเภทสองโดยเฉพาะ มีการคัดสรรวัสดุมาอย่างดีทำให้ตัวผลิตภัณฑ์มีความคงทน สามารถรองรับน้ำหนักของผู้ชายได้ดีเยี่ยม บริษัทฯ กำหนดราคาขายโดยอ้างอิงจากการรับรู้ของลูกค้าแบ่งตามรูปแบบของสินค้า ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 790,1090 และ 1,590 บาทต่อคู่ตามลำดับ บริษัทฯ จ้างบริษัทฯรับจ้างผลิตเพื่อผลิตสินค้าให้ เป็นการลงทุนที่น้อยกว่าการก่อตั้งโรงงานและผลิตเอง สามารถลดต้นทุนถาวรได้ส่งผลให้โครงสร้างภายในองค์กรไม่มีความซับซ้อน โดยมีกรรมการผู้จัดการ 2 คนทำหน้าที่ในการบริหาร และมีพนักงานธุการ 1 คนซึ่งมีหน้าที่หลักในการจัดการเอกสารและจัดส่งสินค้าให้ลูกค้า โดยในช่วง 5 ปี แรกผู้ก่อตั้ง PREEN จะรับผิดชอบในส่วนของงานออกแบบและประสานงานการผลิตกับบริษัทฯรับจ้างผลิตด้วยตนเอง ด้วยประสบการณ์ด้านการออกแบบและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ทา ให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจทางบริษัทฯได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้สองกลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มสาวประเภทสองที่เป็นวัยทำงานและนักศึกษา และคือกลุ่มผู้หญิงที่มีเท้าขนาดใหญ่ที่ใส่รองเท้าตั้งแต่เบอร์ 41 ขึ้นไป โดยบริษัทฯจะเข้าสู่ตลาดโดยใช้ช่องทางจาหน่ายออนไลน์ผ่าน Social Media เป็นหลัก เช่น Facebook และ Instagram และเว็บไซต์ของบริษัท ฯ www.preenshoes.com และมีการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการไปยังกลุ่มลูกค้า เช่น การลงพื้นที่โฆษณาผ่าน Facebook boost post และ promote page การโฆษณาโดยใช้สาวประเภทสองที่มีชื่อเสียงช่วยในการโปรโมทสินค้า การทำการตลาดแบบปากต่อ ปาก การออกบูธต่างๆ เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์ PREEN ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ไว้วางใจของลูกค้าบริษัทฯ จะใช้เงินทุนทั้งสิ้น 1,039,140 บาท บาท โดยเป็นส่วนของค่ามัดจา ค่าเช่าสำนักงาน อุปกรณ์สานักงาน อุปกรณ์ที่ใช้ในออกบูธ โดยค่าใช้จ่ายหลักเป็นส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และค่าใช้จ่ายทางการตลาดเนื่องจาก PREEN เป็นสินค้าใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักใน ตลาด บริษัทฯคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายในปี แรก จำนวน 2,885,808 บาท และมียอดขายเติบโตต่อเนื่องทุกปี ปีละร้อยละ 10 โดยสามารถทำกำไรในปีแรกได้ถึง 1,297,946 บาท และสามารประเมินโครงการโดยใช้ค่า k (i) เท่ากับ 10% ในระยะเวลา 5 ปีโครงการแผนธุรกิจรองเท้าสาหรับสาวประเภทสองจะมีมูลค่าโครงการปัจจุบันสุทธิ (NPV) อยู่ที่ 7,420,131 บาท มีอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับ 156.02 % และใช้ระยะเวลาคืนทุนเพียง 7.1 เดือน
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1324
Other Identifiers: TP EM.029 2558
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP EM.029 2558.pdf18.25 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.