Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1596
Title: | การรับรู้ของผู้บริโภคต่อการให้บริการของร้านอาหารด้านสุขอนามัย = Customers' perception towards hygienic restaurant service. |
Authors: | ประภัตสร พลสารโชคทรัพย์ |
Keywords: | ร้านอาหาร การจัดการธุรกิจอาหาร การรับรู้ของผู้บริโภค สุขอนามัยอาหาร |
Issue Date: | 17-May-2016 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2559 |
Abstract: | การจัดการด้านสุขอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารพึงดำเนินการเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของลูกค้า และเพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงต้องดำเนินการตามลำดับความสำคัญ งานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาเครื่องมือเป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาปัจจัยและรายละเอียดของการจัดการด้านสุขอนามัยแล้วนำมาพิสูจน์ความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ของผู้บริโภคทั่วประเทศไทยจำนวน 400 คน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความสำคัญของลักษณะปัจจัยในการจัดการกับระดับการรับรู้ในความสำคัญของสุขอนามัยด้วยสถิติ Spearman Correlation Coefficient พบว่าทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกในระดับปานกลางยกเว้นด้านอาหารซึ่งอยู่ในระดับต่ำ และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยด้วยสถิติ Kruskal-Wallis Test ปัจจัยจะถูกเรียงเป็น 4 ลำดับโดยหนึ่งคือ อาหาร สองคือพนักงานบริการ สามคือเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องอาหาร และสี่คือสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องน้ำ โดยลักษณะที่ถูกรับรู้ความสำคัญเป็นกลุ่มแรกด้วยความสำคัญระดับมากที่สุด ได้แก่ อาหารรวมถึงเครื่องปรุงบนโต๊ะอาหารต้องสะอาด ไม่มีสิ่งแปลกปลอม ไม่มีพิษ ภาชนะและอุปกรณ์ที่ใช้เสิร์ฟ เช่น จาน ชาม ช้อน ส้อม ตะเกียบ มีด แก้ว และสิ่งที่สัมผัสกับร่างกาย เช่น ไม้จิ้มฟัน การสัมผัสชักโครก โถปัสสาวะ สายฉีดชำระ ขันน้ำ สิ่งเหล่านี้ต้องสะอาดและมีสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงความสะอาดของพื้นที่โดยรอบอาคาร พื้นห้องน้ำ การกำจัดกลิ่นเหม็นและสัตว์พาหะนำโรค เช่น แมลงสาบ และการที่พนักงานต้องไม่ไอจามลงไปในอาหาร อุปกรณ์ และตัวลูกค้า ทั้งนี้ยังพบว่าเพศหญิงมีการให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยด้านอาหารในทุกด้านมากกว่าเพศชาย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรนำรายละเอียดเหล่านี้ชี้แจงแก่พนักงานให้ตระหนักถึงความสำคัญเพิ่มขึ้นมาเนื่องจากผู้บริโภคมีความคาดหวังในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งหากไม่สามารถให้บริการได้ตามความคาดหวังก็จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่พึงพอใจได้ |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1596 |
Other Identifiers: | TP FB.010 2559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FB.010 2559.pdf | 4.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.