Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1751
Title: แผนธุรกิจสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้า "Umbrella sunscreen spray" = Business plan facial sun screen spray "Umbrella sun screen spray"
Authors: เรียม เบ็ญจวิไลกุล
Keywords: การจัดการธุรกิจ
แผนธุรกิจ
สเปรย์กันแดด
Issue Date: 30-May-2016
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: การจัดทําแผนธุรกิจนี้ มีวัตถุปุระสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ ของ Umbrella Sun Screen Spray ผ่านทางช่องทาง การจําหน่าย ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้บริโภค เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของ Umbrella Sun Screen Spray ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงคุณภาพ รู้สึกมั่นใจในการเลือกใช้ Umbrella Sun Screen Spray และ เพื่อเพิ่มยอดขายอย่างน้อย 10% ต่อปี มีการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในธุรกิจจากแรง กดดัน 5 ประการ ที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมและศักยภาพในการทำกำไรในอนาคต วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจรวมทั้งวิเคราะห์ความเสี่ยง นอกจากนี้ยังได้วิจัยการตลาด โดยวิธีการสังเกตการณ์ ช่องทาง การจัดจำหน่ายของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้า และสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่ม เป้าหมายจำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 16 คน แบ่งตามอายุ และพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้า ในประเด็นเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้า จากการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันในธุรกิจจากแรงกดดัน 5 ประการ พบว่า อุตสาหกรรมสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้ายังมีศักยภาพในการทำกำไรที่ดี ผลการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคพบว่า จุดแข็งของธุรกิจ คือคุณภาพ และความน่าเชื่อถือ แต่ยังมีจุดอ่อนด้านการเป็นที่รู้จักของกลุ่มลูกค้า เมื่อพิจารณาในส่วนของโอกาสพบว่ามีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของตลาดได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีอุปสรรคด้านการถูกควบคุมจากรัฐบาล และการสร้างความแตกต่างของแบรนด์ในสายตาของลูกค้า จากการสังเกตการณ์พบว่ามีสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้าจำหน่ายในร้านค้าเกี่ยวกับความงามเท่านั้น จำนวน 3 แบรนด์ แต่ละแบรนด์เน้นจุดขายที่ค่าการกันรังสียูวี (SPF) ที่สูง จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า กลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม มีความเห็นตรงกันว่าสเปรย์กันแดดสำหรับผิวหน้าที่มั่นใจจะเลือกซื้อต้องเป็นแบรนด์ที่ได้รับการแนะนำจากแพทย์ผิวหนัง และผลิตภัณฑ์ต้องให้ความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยจะซื้อตามที่แพทย์แนะนำจากหน้าร้านที่สะดวกที่สุดที่สามารถเข้าถึงได้เป็นอันดับแรก จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ จึงได้กำหนดกลยุทธ์ โดยเน้นผู้หญิงวัยทำงานที่อาศัยในกรุงเทพมหานครเป็นหลัก รองลงมาคือ ผู้หญิงวัยกลางคนที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร ใช้กลยุทธ์ด้านช่องทาง การจัดจำหน่าย โดยให้แพทย์เป็นผู้แนะนำผลิตภัณฑ์ จากนั้นลูกค้าสามารถเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายได้รวดเร็ว และสะดวกสบาย เพื่อให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ธุรกิจนี้ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 250,000 บาท โดยมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 71,343.76 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ของโครงการนี้เท่ากับ 25.01 % และระยะเวลา คืนทุน เท่ากับ 3 ปี 6.5 เดือน
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1751
Other Identifiers: TP BM.004 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP BM.004 2559.pdf1.28 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.