Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1859
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | พัลลภา ปีติสันต์ | - |
dc.contributor.author | นิพัทธ์ สิริพรรณยศ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T09:20:14Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T09:20:14Z | - |
dc.date.issued | 2016-11-09 | - |
dc.identifier | TP BM.015 2559 | - |
dc.identifier.citation | 2559 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/1859 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของประชาชนที่ใช้บริการ BTS ที่มีต่อร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส และเพื่อเสนอแนวทางในการหาโอกาสช่องทางทางธุรกิจร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีแบบสัมภาษณ์เพื่อใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสจำนวน 29 คน และร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสจำนวน 5 ร้าน ทำการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 เดือนคือ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 โดยผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภายนอกของผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์ ราคา เวลาเดินทาง และความเร่งรีบ มีผลต่อต่อทัศนคติของประชาชนกรุงเทพมหานครที่มีต่อร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งส่งผลการตัดสินใจซื้อสินค้าตามร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เช่น สินค้าประเภทเครื่องดื่มอาหารและของรับประทานต่างๆ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้บริการนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ และตัดสินใจซื้อ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะที่เป็นต้องการที่ตรงใจกับการบริโภคของลูกค้าในช่วงเวลานั้นๆ เช่น เกิดอาการหิว และในด้านราคา ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อทั้ง 2 ด้านเช่นกัน เช่น ราคาแพงเกินไป ผู้ใช้บริการที่ไม่มีความต้องการสินค้าสูง อาจจะไม่ซื้อสินค้านั้นก็ได้ ความเร่งรีบในการเดินทางอาจจะทำให้ผู้ใช้บริการซื้อหรือไม่ซื้อได้เช่นกัน ขึ้นกับความสะดวกที่ร้านค้าที่สามารถมอบให้ และสำหรับปัจจัยของปัจจัยภายนอกของร้านค้า เช่น ทำเลที่ตั้ง ระยะเวลาที่เปิดร้าน รายได้ที่คาดว่าจะได้รับ และจำนวนลูกค้า มีผลต่อทัศนคติของผู้ค้าร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการเปิดร้านค้าบนสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เช่น สถานที่ตั้งมีผลต่อการเปิดร้าน ตัวอย่างเช่น ร้านขายเครื่องเขียน ผู้ค้าอาจจะไปเปิดร้านที่สถานีพญาไท เพราะมีที่เรียนพิเศษจำนวนมาก การที่ร้านค้าเปิดมาเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ใช้บริการจดจำได้มากขึ้นและทำให้มีลูกค้าจำนวนมากขึ้นเช่นกัน และรายได้ ผู้ค้าสามารถคาดการณ์ได้จากช่วงเวลา หรือเทศกาลต่างๆ เช่น ร้านขายตุ๊กตา จะขายดีและมีรายได้มากในช่วงเทศกาลต่างๆ (เทศกาลปีใหม่ เทศกาลวาเลนไทน์ ฯลฯ) | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | การจัดการธุรกิจ | - |
dc.subject | ร้านค้า | - |
dc.subject | สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส | - |
dc.title | ทัศนคติของประชาชนกรุงเทพมหานครที่มีต่อร้านค้าบนรถไฟฟ้าบีทีเอส =Attitude of population in Bangkok influencing the shop on BTS station. | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP BM.015 2559.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.