Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2038
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ทางการเข้าสู่ตลาดและการเงินของธุรกิจขนมทานเล่นทำมาจากไข่ขาวเพื่อบำรุงสมองสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยเรียน "Kumo-I" =A feasibility study of market entry strategies and financial plan of brain booster egg white snack for education age "Kumo-I" brand.
Authors: คชาทอง นพคุณสมบูรณ์
Keywords: ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม
อาหารเสริม
การเข้าสู่ตลาด
ขนม
ไข่ขาว
Issue Date: 17-May-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2559
Abstract: กลุ่มเป้าหมายสาหรับคุโมอินั้นคือ กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา ซึ่งมีจา นวนรวมตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา จนถึงระดับชั้นปริญญาเอก พบว่ามีจำนวนรวมมากกว่า 12 ล้านคน ในช่วงอายุ 6-30 ปี ฐานะทางครอบครัวปานกลางจนถึงสูง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้บริโภคหลักทั้งรูปแบบของการที่กลุ่มผู้บริโภคซื้อบริโภคเองและกลุ่ม ที่ผู้ปกครองเป็นคนซื้อให้บุตรหลานรับประทาน สา หรับกลุ่มเป้าหมายรองคือกลุ่มพนักงานสาอาชีพที่ต้องใช้ความคิดหรือการทา งานของสมองมาก เช่น กลุ่มแพทย์, ทันตแพทย์, เภสัชกร, อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆแผนการในการดำเนินธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดสู่การเป็นเจ้าตลาดผลิตภัณฑ์ขนมสาหรับเพิ่มการทา งานของสมอง เริ่มตั้งแต่ในส่วนของการจัดตั้งโรงงานโดยมีการใช้เครื่องอบแบบอุโมงค์สายพายในการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและกำลังในการผลิต ตลอดจนภาชนะบรรจุรูปแบบ Sheet Printing & Lamination, Multi-Layer Flexible ในรูปทรงที่สะดุดตา ซึ่งสามารถรักษาคุณภาพของขนมที่ไวต่อความชื้นไว้ภายในภาชนะบรรจุได้ ต่อเนื่องจนถึงส่วนงานด้านการตลาดที่เลือกใช้ช่องทางการสื่อสารถึง ผู้บริโภคเป้าหมายอย่างตรงจุดทั้งการจัดทำ Roadshow ตามสถานศึกษาต่างๆ, โฆษณาผ่านทาง Online รวมไปถึงการแจกผลิตภัณฑ์ตัวอย่างตามสถานศึกษาเป้าหมาย เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ เกิดประสบการณ์ตรงต่อสินค้าและรับทราบถึงคุณค่าที่จะได้รับด้านการเงินโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 9,833,254.00 บาท โดยแบ่งเป็นเงินลงทุนส่วนตัว 59.32% (5,833,254.00 บาท) และ เงินจากการกู้ยืม 40.68% (4,000,000 บาท) ซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่ถูกนา ไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนจำนวน 3,830,000 บาท (38.95%) ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินการซึ่งรวมค่านา สินค้าเข้าร้านค้า คิดเป็น 3,025,729 บาท (30.77%) และค่าใช้จ่ายจากการติดตั้งเครื่องจักรในการผลิตรวมถึงการปรับปรุงการสร้างโรงงาน 2,562,535 บาท คิดเป็นสัดส่วนรวม (26.06%) สำหรับต้นทุนขายมีค่าเฉลี่ยตลอด 5 ปี เท่ากับ 27.85% (ค่าต้นทุนขายสูงสุดในปี ที่ 1 คิดเป็น 30.78% และมีค่าต่า สุดในปี ที่ 5 คิดเป็น 25.28%) ประกอบกับการอ้างอิงยอดขายจากข้อมูลที่ได้รับจากการทดลองขายจริง ในอัตรา 1.375 กล่อง/วัน จากจา นวนประชากรเป้าหมายที่ 4,469 คน ดังนั้นประมาณการยอดขายผ่านช่องทางร้านสะดวกซื้อและไฮเปอร์มาร์ทขนาดใหญ่รวม 384,710 กล่อง ในปี แรก และเพิ่มขึ้นตามลา ดับ ซึ่งสามารถหามูลค่าปัจจุบันของโครงการ (NPV) รวมเท่ากับ 19,242,864 บาท บนอัตราผลตอบแทนในการลงทุน (IRR) ที่ 72.13% B/C ratio 3.96 เท่า และมีระยะเวลาคืนทุนของโครงการที่ 1 ปี 10 เดือน 5 วัน ณ จุดคุ้มทุนเฉลี่ย 5 ปี ที่ 250,370 กล่อง/ปี ภาพรวมโครงการโดยรวมมีหนี้สินและส่วนของเจ้าของรวมสะสมในปี ที่ 5 คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 59,983,945 บาท
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2038
Other Identifiers: TP EM.063 2559
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.