Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2106
Title: | การศึกษาผลกระทบทางด้านราคาและปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ที่ถูกเลือกเข้าและคัดออกจากดัชนี MSCI ในกลุ่มกลักทรัพย์ทุกประเทศ = The study of price and volume effect from stocks added to and deleted from MSCI index compostion (All countries) |
Authors: | ปาจรีย์ อยู่ศิลป |
Keywords: | การเงิน ผลกระทบด้านราคา MSCI Index Volume effect Index Rebalancing Price effect |
Issue Date: | 24-May-2017 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยมหิดล |
Citation: | 2559 |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้เป็นการหาอัตราผลตอบแทนที่ผิดปกติของหลักทรัพย์ที่ถูกเลือกเข้าและคัดออกจากดัชนี MSCI Global Standard Index ตั้งแต่ปี 2554 - 2558 จำนวน 362 หลักทรัพย์โดยแบ่งเป็นหลักทรัพย์ที่ถูกเลือกเข้าดัชนี 250 หลักทรัพย์ และคัดออกจากดัชนี 112 หลักทรัพย์ โดยวิเคราะห์ด้วยวิธีการศึกษาเหตุการณ์ (Event Study) ผลการศึกษาพบว่าอัตราผลตอบแทนผิดปกติเฉลี่ยสะสมของหลักทรัพย์เกิดขึ้นทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยหลักทรัพย์ที่ถูกเลือกเข้า (คัดออก) จากดัชนีมีอัตราผลตอบแทนผิดปกติเฉลี่ยสะสม ตั้งแต่วันที่ประกาศดัชนี จนถึง 10 วันหลังจากวันที่ดัชนีปรับใช้จริง (AD ถึง CD+10) เท่ากับ 1.33% (-4.41%) ซึ่งสนับสนุนทฤษฎี Imperfect Substitute ที่กล่าวว่า อุปสงค์ในระยะยาวของหลักทรัพย์จากการปรับดัชนีจะเป็นอนันต์ เพราะทดแทนไม่ได้ด้วยหลักทรัพย์อื่น ส่งผลให้ราคาปรับตัวเป็นราคาดุลยภาพใหม่และจะไม่กลับไปสู่ราคาเดิม และสนับสนุนทฤษฎี Price Pressure เนื่องจากพบการกลับของราคาหลังจากวันที่ดัชนีปรับใช้จริง ที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนผิดปกติที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มกลับสู่ผลตอบแทนปกติ นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณการซื้อขายที่ผิดปกติเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ณ วันที่ดัชนีปรับใช้จริง เท่ากับ 1,615% และ 1,902% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของหลักทรัพย์ที่ถูกเลือกเข้าและคัดออก ตามลำดับ แต่หลังจากนั้นแล้วกลับไม่พบว่ามีปริมาณการซื้อขายผิดปกติเกิดขึ้น |
URI: | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2106 |
Other Identifiers: | TP FM.030 2559 |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP FM.030 2559.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.