Please use this identifier to cite or link to this item: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2162
Title: กลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพของฝ่ายขายและการตลาด กรณีศึกษา: บริษัท เซนทรัลสปริง จำกัด = SALES AND MARKETING STRATEGY TO INCREASE PERFOMANCE IN CASE STUDY: CENTRAL SPRING COMPANY LIMITED
Authors: อัธริยา จิระนภารัตน์
Keywords: การลดต้นทุน
การเพิ่มรายได้
เพิ่มกำไร
เพิ่มประสิทธิภาพ
บริหารความสัมพันธ์
Issue Date: 28-Jun-2017
Publisher: มหาวิทยาลัยมหิดล
Citation: 2560
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฝ่ายขายและการตลาด ของบริษัท เซ็นทรัลสปริง จำกัด โดยลดต้นทุนในการดำเนินการและเพิ่มขีดความสามารถของฝ่ายขายและการตลาด เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้ โดยผ่านเครื่องมือ 5-Force analysis, VRIO Criteria และ SWOT analysis เพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาโอกาส อุปสรรคและความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่า จุดแข็งที่สำคัญ คือ บุคลากรมีความสามารถในการผลิตสินค้าได้หลากกลายและมีรูปแบบซับซ้อนได้เป็นอย่างดี โดยลูกค้ารายหลักเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีการดำเนินธุรกิจใหญ่กว่าบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯจึงต้องการเพิ่มยอดขายและกำไรจากลูกค้ากลุ่มเดิมที่มีอยู่ การศึกษาดังกล่าวได้มุ่งเน้นไปที่ฝ่ายขายและการตลาด ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในองค์กร จากการทำงานปัจจุบันพบว่า ขั้นตอนของการตรวจสอบปริมาณสินค้าที่ไม่มีความทันสมัยของสินค้าสำเร็จรูปในระบบกับสินค้าคงคลังเพื่อเตรียมส่งมอบ ทำให้อาจเกิดความผิดพลาดของข้อมูลและมีความยากในการเข้าถึงข้อมูล ผลคือข้อมูลไม่มีความทันสมัย ส่งผลต่อการดำเนินงานที่ใช้เวลานานและต้นทุนดำเนินการที่สูง ซึ่งอาจทำให้ได้รับสินค้าล่าช้า ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจของลูกค้าเป็นได้ สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการประยุกต์ใช้โปรแกรมด้าน ERP ร่วมกับการใช้กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและเป็นแหล่งข้อมูลเดียวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ ลดระยะเวลาการทำงาน และสามารถลดต้นทุนของบริษัทได้ หากสามารถดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้บริษัทฯจะมีความสามารถในการแข่งขันในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น จากการลดระยะเวลาการทำงาน เพื่อสร้างจุดแข่งขัน นอกจากนี้ยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินการทำให้ต้นทุนของสินค้า เพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับองค์กรในระยะยาวได้
URI: https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2162
Other Identifiers: TP MS.005 2560
Appears in Collections:Thematic Paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
TP MS.005 2560.pdf1.59 MBAdobe PDFThumbnail
View/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.