Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2198
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ณัฐพงษ์ พงษ์นุช | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T09:46:24Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T09:46:24Z | - |
dc.date.issued | 2017-06-30 | - |
dc.identifier | TP MS.018 2560 | - |
dc.identifier.citation | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2198 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 5 ประการคือ 1. เพื่อสำรวจว่าผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม (SMEs) แต่ละกิจการในประเทศไทย มีความสนใจและไม่สนใจในแนวคิดแบบลีน (Lean) มีสัดส่วนเป็นจำนวนเท่าไร 2. เพื่อสำรวจหา เหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทยสนใจหรือไม่สนใจแนวคิดแบบลีน (Lean) 3. เพื่อ ศึกษาปัจจัยทางด้านการดำเนินธุรกิจ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่ละกิจการในประเทศไทย มีผลต่อความสนใจนำ แนวคิดแบบลีน (Lean) ไปประยุกต์ใช้ 4. เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านประสบการณ์ในแนวคิดแบบลีน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) แต่ละกิจการในประเทศไทยมีผลต่อความสนใจนำแนวคิดแบบลีน (Lean) ไปประยุกต์ใช้ 5. เพื่อศึกษาว่าวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs) แต่ละกิจการในประเทศไทยเลือกเอาเครื่องมือลีน (Lean Tools) ไปใช้เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกิจการผลิตสินค้ากิจการ, กิจการให้บริการ และกิจการค้า ส่งและค้าปลีกในประเทศไทย ที่มีสำนักงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑล จำนวน 440 ราย โดยดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน สิงหาคม 2559 ถึง กันยายน 2559 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ(SPSS) โดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ (X2) และค่าเอฟ(F) จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาจากข้อมูลที่ได้รับการตอบกลับจำนวน 155 ราย พบว่า ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ละกิจการในประเทศไทย มีสัดส่วนความสนใจในแนวคิดแบบลีนร้อยละ 66.5 โดยเหตุผลที่ทำให้สนใจในแนวคิดแบบลีน มากที่สุด ได้แก่ ความต้องการให้สินค้าและบริการมีคุณภาพดี ส่วนเหตุผลที่ทำให้ไม่สนใจในแนวคิดแบบลีน มากที่สุดได้แก่ คิดว่าธุรกิจปัจจุบัน ดีอยู่แล้ว และปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจในแนวคิดแบบลีน ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในประเทศไทย ได้แก่ ประเภทของกิจการ จำนวนพนักงาน การมีการจัดมาตรฐานการจัดการทางธุรกิจ ระดับความรู้ความเข้าใจในแนวคิดแบบลีน และ ประสบการณ์จากการนำแนวคิดแบบลีนไปประยุกต์ใช้ และความสนใจในการเลือกใช้เครื่องมือลีน แต่ละประเภท ของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อม แต่ละกิจการในประเทศไทย พบว่าเครื่องมือลีนบางประเภทวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละกิจการใน ประเทศไทย สนใจเลือกเอาไปใช้แตกต่างกัน และเครื่องมือลีนบางประเภท วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละกิจการในประเทศ ไทย สนใจเลือกเอาไปใช้เหมือนกัน | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | Lean | - |
dc.subject | Lean Tools | - |
dc.subject | Small and Medium Enterprise (SMEs) | - |
dc.title | ความสนใจในแนวคิดแบบลีนและการเลือกใช้เครื่องมือลีนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย = LEAN ATTENTION AND USING LEAN TOOLS TO DEVELOP IN DIFFERENT TYPE OF SMALL AND MEDIUM ENTERPRIS IN THAI INDUSTRIES | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP MS.018 2560.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.