Please use this identifier to cite or link to this item:
https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2328
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
eperson.contributor.advisor | ธนพล วีราสา | - |
dc.contributor.author | ภูวเมศฐ์ ภานุอนันต์พงษ์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-03-23T09:48:21Z | - |
dc.date.available | 2021-03-23T09:48:21Z | - |
dc.date.issued | 2017-11-28 | - |
dc.identifier | TP EM.016 2560 | - |
dc.identifier.citation | 2560 | - |
dc.identifier.uri | https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2328 | - |
dc.description.abstract | “Doo Lare Cuisine” เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นมาจากความสนใจในเรื่องอาหารของหุ้นส่วนทั้ง 3 คน ประกอบกับผลิตภัณฑ์ชุดทำอาหารพร้อมปรุงนั้นยังไม่มีในตลาดบ้านเรา และจึงได้เกิดไอเดียในการทำผลิตภัณฑ์ชุดทำอาหารพร้อมปรุงสำหรับผู้ป่วยโรคไตและโรคเบาหวานขึ้นมาเพื่อผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพร้อมปรุง (ready to cook) สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคไต โดยที่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นชุดอาหารพร้อมปรุง มีการคัดสรรวัตถุดิบและปริมาณในแต่ละมื้อให้เหมาะสมกับชนิดของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ โดยมี Chef เป็นผู้คิดค้นสูตรอาหารแต่ละเมนู และมีนักโภชนาการเป็นคนกำหนดอาหารในแต่ละมื้อของผู้ป่วย โดยที่ชุดอาหารในแต่ละชุดนั้นจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบพร้อมปรุงซึ่งจะติดตัวอักษรกำกับไว้ทุกซองเพื่อลดขั้นตอนในการเตรียมอาหาร และมีคู่มือพร้อมวิธีทำมาให้ในชุดทำอาหาร ซึ่งขั้นตอนในการประกอบอาหารนั้นจะมีไม่เกิน 6 ขั้นตอน เพื่อความง่ายต่อการทำความเข้าใจของผู้ป่วย ในส่วนของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายนั้น Doo Lare Cuisine วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักไว้คือผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตจัดส่ง 29 เขตในกรุงเทพฯ มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท/เดือน และมีพฤติกรรมชอบทำอาหารรับประทานเองที่ที่พักอาศัย ส่วนกลุ่มลูกค้าเป้าหมายรองคือผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานและโรคไต และมีความจำเป็นจะต้องควบคุมอาหาร มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท/เดือน และมีพฤติกรรมชอบทำอาหารรับประทานเองที่ที่พักอาศัย ในด้านของการทำการตลาด Doo Lare Cuisine จะมี 2 ช่องทางหลักดังนี้ ช่องทางแรกคือการออกบูธตามโรงพยาบาลต่างๆทั้งที่เป็นบูธถาวร มีการเช่าพื้นที่เป็นรายเดือนและบูธชั่วคราวที่มีการจัดขึ้นเฉพาะงานอีเว้นท์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ โดยจะมีพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมเบื้องต้นเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางด้านโภชนาการอยู่ประจำบูธเพื่อคอยอธิบายถึงตัวผลิตภัณฑ์และประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์นี้ และยังมี Sale Incentive ให้กับพนักงานขายประจำบูธเพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีความกระตือรือร้นในการนำเสนอสินค้าให้แก่ลูกค้า ช่องทางที่สองคือ มีนักกำหนดอาหารตามโรงพยาบาลต่างๆ คอยแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยเพื่อเป็นทางเลือกในการควบคุมโรค | - |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยมหิดล | - |
dc.subject | ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม | - |
dc.subject | ความเป็นไปได้ | - |
dc.subject | การเข้าสู่ตลาด | - |
dc.subject | โรคเบาหวาน | - |
dc.subject | โรคไต | - |
dc.subject | อาหารพร้อมปรุง | - |
dc.title | การศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าสู่ตลาดของธุรกิจผลิตภัณฑ์ชุดการทำอาหารพร้อมปรุงที่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคไต "Doo lare cuisine" | - |
dc.type | Thematic Paper | - |
Appears in Collections: | Thematic Paper |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
TP EM.016 2560.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.